ชาเขียวกับการเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายเอ็มอาร์ไอ

ชาเขียวกับการเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายเอ็มอาร์ไอ

ดร.จินตมัย สุวรรณประทีป ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)         

            ชาเขียวถือเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งมีจำหน่ายอยู่อย่างมากมายหลากหลายยี่ห้อ หรือแม้แต่นำไปเป็นส่วนผสมในของหวานหรืออาหาร โดยชาเขียวนั้นเตรียมได้จากการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ทำให้ยังคงสีเขียวอยู่ สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียว ได้แก่ กรดอะมิโน วิตามินบี ซี และอี คาเฟอีน และสารในกลุ่มพอลิฟีนอลที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) หลายประเภท ทั้งอีพิแคททีชิน (EC), อีพิแคททีชินกัลเลต (ECG), สารอีพิกัลโลแคททีชิน (EGC) และสารอีพิกัลโลแคททีชินกัลเลต (EGCG) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลแคททีชินกัลเลต ซึ่งพบมากถึง 50-80% ประโยชน์ของชาเขียวนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง การต้านการเกิดการอักเสบ การช่วยในการควบคุมน้ำหนักเนื่องจากการมีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมัน การช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด และมีฤทธิ์ต้านการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีประโยชน์ในแง่ของการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร ของหวาน หรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแล้ว ทีมนักวิจัยค้นพบว่าชาเขียวยังสามารถที่จะช่วยในการเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายเนื้อเยื่อและอวัยวะที่ได้จากเครื่องถ่ายภาพแบบเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) อีกด้วย

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่