ผลลัพธ์เสริมนมแม่บริจาคต่อพัฒนาการระบบประสาทในทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก

ผลลัพธ์เสริมนมแม่บริจาคต่อพัฒนาการระบบประสาทในทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก

JAMA. 2016;316(18):1897-1905.

บทความเรื่อง Effect of Supplemental Donor Human Milk Compared with Preterm Formula on Neurodevelopment of Very Low-Birth-Weight Infants at 18 Months: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า ปัญหาขาดแคลนนมแม่มักพบในทารกซึ่งมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมากและจำเป็นต้องได้รับการเสริมด้วยนมแม่บริจาคผ่านกระบวนการพาสเจอไรซ์หรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด แม้ว่าการตระหนักถึงประโยชน์ของนมแม่ทำให้อัตราการใช้นมแม่บริจาคเพิ่มขึ้น แต่ข้อมูลการศึกษาวิจัยซึ่งประเมินประสิทธิภาพของนมแม่บริจาคก็ยังคงมีจำกัด

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินว่าการเสริมนมแม่บริจาคซึ่งผ่านการเติมโภชนาการร่วมกับนมแม่สามารถลดการเจ็บป่วยของทารก ส่งเสริมการเติบโต และฟื้นฟูพัฒนาการทางระบบประสาทในทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยมากหรือไม่เมื่อเทียบกับนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเกิดก่อนกำหนด   

 การศึกษาเปรียบเทียบแบบปกปิด 2 ทางในสถานการณ์จริงนี้ได้รวบรวมทารกซึ่งมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมากจากหอทารกแรกเกิด 4 แห่งในนครออนตาริโอ ประเทศแคนาดา ภายใน 96 ชั่วโมงหลังคลอด ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 และสิ้นสุดการติดตามในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2015 ผู้วิจัยสุ่มให้ทารกได้รับนมแม่บริจาคหรือนมผงดัดแปลงเป็นเวลา 90 วัน หรือจำหน่ายออกเมื่อไม่มีนมแม่ ผลลัพธ์หลัก ได้แก่  คะแนนเชาวน์ปัญญา (cognitive composite score) ประเมินตาม Bayley Scales of Infant and Toddler Development, Third Edition (Bayley-III) ที่อายุปรับแล้ว 18 เดือน (ค่าเฉลี่ยมาตรฐานเท่ากับ 100 [SD เท่ากับ 15]; ค่าความต่างที่เกิดขึ้นที่น้อยที่สุดที่สามารถแสดงนัยสำคัญทางคลินิกเท่ากับ 5 คะแนน) ผลลัพธ์รอง ได้แก่  คะแนนรวมจากแบบทดสอบ Bayley-III ด้านภาษาและการทำงานของกล้ามเนื้อ การเติบโต และดัชนีการตายและการเจ็บป่วย

จากทารก 840 ราย มีทารกได้รับการสุ่ม 363 ราย (ร้อยละ 43.2) (181 ราย ได้รับนมแม่บริจาค และ 182 ราย ได้รับนมผงดัดแปลงสูตรสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด) และในทารกที่รอดชีวิตมีทารกที่ได้รับการประเมินพัฒนาการทางระบบประสาท 299 ราย (92%) น้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ยและอายุครรภ์ของทารกเท่ากับ 996 กรัม (SD 272) และ 27.7 (2.6) สัปดาห์ ตามลำดับ และ 195 ราย (ร้อยละ 53.7) เป็นชาย ข้อมูลจากการศึกษาวิจัยไม่พบความต่างที่มีนัยสำคัญด้านคะแนนเฉลี่ยด้านเชาวน์ปัญญา (คะแนนที่ปรับแล้วเท่ากับ 92.9 ในกลุ่มที่ได้รับนมแม่บริจาคเทียบกับ 94.5 ในกลุ่มที่ได้รับนมผงดัดแปลง ผลต่างค่าเฉลี่ยเท่ากับ -2.0 [95% CI อยู่ระหว่าง -5.8 ถึง 1.8]) คะแนนรวมด้านภาษา (คะแนนที่ปรับแล้วเท่ากับ 87.3 ในกลุ่มที่ได้รับนมแม่บริจาคเทียบกับ 90.3 ในกลุ่มที่ได้รับนมผงดัดแปลง ผลต่างค่าเฉลี่ยเท่ากับ -3.1 [95% CI อยู่ระหว่าง -7.5 ถึง 1.3]) หรือคะแนนรวมด้านการทำงานของกล้ามเนื้อ (คะแนนที่ปรับแล้วเท่ากับ 91.8 ในกลุ่มที่ได้รับนมแม่บริจาคเทียบกับ 94.0 ในกลุ่มที่ได้รับนมผงดัดแปลง ผลต่างค่าเฉลี่ยเท่ากับ -3.7 [95% CI อยู่ระหว่าง -7.4 ถึง 0.09]) ระหว่างทั้ง 2 กลุ่ม ข้อมูลจากการศึกษาไม่พบความต่างที่มีนัยสำคัญในทารกที่มีผลบวกในดัชนีการตายและการเจ็บป่วย (ร้อยละ 43 ในกลุ่มที่ได้รับนมแม่บริจาค และร้อยละ 40 ในกลุ่มที่ได้รับนมผงดัดแปลง) หรือการเปลี่ยนแปลงด้านคะแนน z scores ของการเจริญเติบโต

ข้อมูลจากการศึกษาในทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักน้อยมากชี้ว่า การใช้นมแม่บริจาคไม่ได้เพิ่มพัฒนาการด้านระบบประสาทที่อายุปรับแล้ว 18 เดือนเมื่อเทียบกับนมผง ดังนั้น จึงไม่ควรพิจารณาให้การเพิ่มพัฒนาการด้านระบบประสาท ซึ่งหากใช้นมแม่บริจาคในสถานการณ์ที่นมแม่มีมากเพียงพอก็ไม่ควรพิจารณาให้การเพิ่มขึ้นของพัฒนาการด้านระบบประสาทเป็นเป้าหมายการรักษา