Semaglutide Monotherapy ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

Semaglutide Monotherapy ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

The Lancet Diabetes & Endocrinology. Published: 16 January 2017.

            บทความเรื่อง Efficacy and Safety of Once-Weekly Semaglutide Monotherapy versus Placebo in Patients with Type 2 Diabetes (SUSTAIN 1): A Double-Blind, Randomized, Placebo-Controlled, Parallel-Group, Multinational, Multicentre Phase 3a Trial รายงานว่า แม้การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีทางเลือกการรักษาด้วยยาจำนวนมาก แต่การควบคุมน้ำตาลให้เหมาะสมก็ยังคงเป็นปัญหาในผู้ป่วยจำนวนมากและทำให้จำเป็นที่จะต้องได้การรักษาใหม่ ยา semaglutide เป็น glucagon-like peptide-1 (GLP-1) analogue ในการพัฒนาระยะที่ 3 สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ประเมินผลลัพธ์ด้านประสิทธิผล ความปลอดภัย และความทนต่อยาของ semaglutide monotherapy เทียบกับยาหลอกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งไม่เคยได้รับการรักษาและไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีพอจากการปรับอาหารและออกกำลังกาย

ผู้ศึกษาวิจัยดำเนินการศึกษาระยะ 3a ด้วยวิธีสุ่มเปรียบเปรียบกลุ่มคู่ขนานแบบปกปิดสองทาง (SUSTAIN 1) จากศูนย์วิจัย 72 แห่งในแคนาดา อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก รัสเซีย แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา (ครอบคลุมโรงพยาบาล หน่วยวิจัยทางคลินิก และคลินิกเอกชน)  โดยรวบรวมผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งไม่เคยได้รับการรักษามาก่อนและมีอายุตั้งแต่ 18 ปี ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการปรับอาหารและออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวมาอย่างน้อย 30 วันก่อนการตรวจคัดกรอง โดยมี HbA1c ที่พื้นฐานระหว่างร้อยละ 7.0-10.0 (53-86 มิลลิโมล/โมล) ผู้ศึกษาวิจัยได้สุ่มผู้ป่วย (2:2:1:1) เป็นกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย semaglutide แบบยาฉีดใต้ผิวหนังสัปดาห์ละครั้ง (0.5 มิลลิกรัม หรือ 1.0 มิลลิกรัม) หรือยาหลอกที่ขนาดเท่ากัน (0.5 มิลลิกรัม หรือ 1.0 มิลลิกรัม) เป็นเวลา 30 วัน ด้วยปากกา PDS290 อาสาสมัครฉีดยาด้วยตนเองและได้รับคำแนะนำให้ฉีดยาในวันเดียวกันของแต่ละสัปดาห์และฉีดในตำแหน่งเดียวกัน โดยไม่มีข้อกำหนดด้านเวลาในการฉีดยาและมื้ออาหาร จุดยุติปฐมภูมิได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ย HbA1c จากพื้นฐานถึง 30 สัปดาห์ และจุดยุติทุติยภูมิได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวจากพื้นฐานถึง 30 สัปดาห์ ผู้ศึกษาวิจัยได้ประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยในกลุ่ม intention-to-treat population ที่ปรับแล้ว (กล่าวคือ อาสาสมัครทั้งหมดที่ได้รับยาที่ศึกษาอย่างน้อย 1 โด๊ส) ทั้งนี้ในการประเมินผลได้นำผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกทั้ง 2 กลุ่มมารวมกัน

 มีอาสาสมัครได้รับการสุ่ม 388 ราย ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 2014 โดย 387 รายได้รับยาที่ศึกษาอย่างน้อย 1 โด๊ส (128 รายได้รับ semaglutide 0.5 มิลลิกรัม, 130 รายได้รับ semaglutide 1.0 มิลลิกรัม และ 129 รายได้รับยาหลอก) อาสาสมัคร 17 ราย (ร้อยละ 13) ในกลุ่มที่ได้รับ semaglutide 0.5  มิลลิกรัม, 16 ราย (ร้อยละ 12) ในกลุ่มที่ได้รับ semaglutide 1.0 มิลลิกรัม และ 14 ราย (ร้อยละ 11) ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอกหยุดการรักษา โดยมีสาเหตุหลักมาจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้      ค่าเฉลี่ย HbA1c ที่พื้นฐานเท่ากับร้อยละ 8.05% (SD 0.85)   ที่ 30 สัปดาห์ HbA1c ลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 1.45 (95% CI -1.65 ถึง -1.26) จาก semaglutide 0.5 มิลลิกรัม (ผลต่างเทียบกับยาหลอกเท่ากับร้อยละ -1.43, 95% CI -1.71 ถึง -1.15; p < 0.0001) และลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ร้อยละ 1.55 (-1.74 ถึง -1.36) จาก semaglutide 1.0 มิลลิกรัม (ผลต่างเทียบกับยาหลอกเท่ากับร้อยละ -1.53, -1.81 ถึง -1.25; p < 0.0001) และลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญเท่ากับร้อยละ 0.02 (-0.23 ถึง 0.18) จากยาหลอก ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวที่พื้นฐานเท่ากับ  91.93 กิโลกรัม (SD 23.83) ที่ 30 สัปดาห์พบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 3.73 กิโลกรัม (95% CI -4.54 ถึง -2.91) จาก semaglutide 0.5 มิลลิกรัม (ผลต่างเทียบกับยาหลอกเท่ากับ -2.75 กิโลกรัม, 95% CI -3.92 ถึง -1.58; p < 0.0001) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 4.53 กิโลกรัม (-5.34 ถึง -3.72) จาก semaglutide 1.0 มิลลิกรัม (ผลต่างเทียบกับยาหลอกเท่ากับ -3.56 กิโลกรัม, -4.74 ถึง -2.38; p < 0.0001) และลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ 0.98 กิโลกรัม (-1.82 ถึง -0.13) จากยาหลอก ไม่มีรายงานการเสียชีวิตในกลุ่มใดและเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ส่วนใหญ่ไม่รุนแรงหรือรุนแรงปานกลาง เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ด้านระบบทางเดินอาหารมีรายงานบ่อยที่สุดในทั้ง 2 กลุ่มที่ได้รับ semaglutide ได้แก่ คลื่นไส้ใน 26 ราย (ร้อยละ 20) ที่ได้รับ semaglutide 0.5 มิลลิกรัม, 31 ราย (ร้อยละ 24) ที่ได้รับ semaglutide 1.0 มิลลิกรัม และ 10 ราย (ร้อยละ 8) ที่ได้รับยาหลอก รวมถึงท้องร่วงซึ่งมีรายงานใน 16 ราย (ร้อยละ 13) ได้รับ semaglutide 0.5 มิลลิกรัม, 14 ราย (ร้อยละ 11) ที่ได้รับ semaglutide 1.0 มิลลิกรัม และ 3 ราย (ร้อยละ 2) ที่ได้รับยาหลอก 

ยา semaglutide ส่งผลดีอย่างมีนัยสำคัญต่อค่า HbA1c และน้ำหนักตัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเทียบกับยาหลอก โดยมีความปลอดภัยไม่ต่างจาก GLP-1 receptor agonists ที่มีในปัจจุบัน และอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2