Tranexamic Acid ในผู้ป่วยผ่าตัดหลอดเลือดแดงโคโรนารี

Tranexamic Acid ในผู้ป่วยผ่าตัดหลอดเลือดแดงโคโรนารี

N Engl J Med 2017;376:136-148.

บทความเรื่อง Tranexamic Acid in Patients Undergoing Coronary-Artery Surgery รายงานว่า กรด tranexamic acid ลดความเสี่ยงเลือดออกในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่านำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีความกังวลต่อ prothrombotic และ proconvulsant effects จากกรด tranexamic acid

การศึกษาแบบ 2x2 factorial design ได้สุ่มให้ผู้ป่วยซึ่งเตรียมผ่าตัดหลอดเลือดแดงโคโรนารีและมีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างผ่าตัดได้รับ aspirin หรือยาหลอก และ tranexamic acid หรือยาหลอก และได้นำผลลัพธ์การเปรียบเทียบของ tranexamic acid มารายงาน ผลลัพธ์หลักได้แก่ ผลรวมของการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนของการตีบตันของหลอดเลือด (หัวใจขาดเลือดไม่ถึงแก่ชีวิต สโตรค ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ไตวาย หรือลำไส้ขาดเลือด) ภายใน 30 วันหลังผ่าตัด

จากผู้ป่วยที่รวบรวมและแสดงความยินยอม 4,662 ราย มี 4,631 รายที่ได้รับการผ่าตัดและมีข้อมูลผลลัพธ์ โดย 2,311 รายได้รับ tranexamic acid และ 2,320 รายได้รับยาหลอก เหตุการณ์ผลลัพธ์หลักเกิดขึ้นใน 386 ราย (ร้อยละ 16.7) ในกลุ่ม tranexamic acid และใน 420 ราย (ร้อยละ 18.1) ในกลุ่มยาหลอก (relative risk เท่ากับ 0.92; 95% CI 0.81-1.05; p = 0.22) จำนวนผลิตภัณฑ์เลือดโดยรวมที่ให้ระหว่างการนอนโรงพยาบาลเท่ากับ 4,331 หน่วยในกลุ่ม tranexamic acid และ 7,994 หน่วยในกลุ่มยาหลอก (p < 0.001) การเสียเลือดมากหรือภาวะบีบรัดหัวใจซึ่งนำไปสู่การผ่าตัดซ้ำพบในร้อยละ 1.4 ในผู้ป่วยกลุ่ม tranexamic acid และในร้อยละ 2.8 ในกลุ่มยาหลอก (p = 0.001) และพบการชักในร้อยละ 0.7 และ 0.1 ตามลำดับ (p = 0.002 จาก Fisher’s exact test)

การให้ tranexamic acid ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อการเกิดเลือดออกเทียบกับยาหลอก โดยไม่พบความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อการเสียชีวิตหรือการตีบตันของหลอดเลือดภายใน 30 วันหลังจากผ่าตัด อย่างไรก็ดี พบว่า tranexamic acid สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นของการชักหลังผ่าตัด