ผลลัพธ์คัดกรอง PSA ต่ออัตราตายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผลลัพธ์คัดกรอง PSA ต่ออัตราตายของมะเร็งต่อมลูกหมาก

JAMA. 2018;319(9):883-95.

            บทความเรื่อง Effect of a Low-Intensity PSA-Based Screening Intervention on Prostate Cancer Mortality: The CAP Randomized Clinical Trial รายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากการตรวจและรักษามากเกินไปอาจเป็นอันตรายและไม่คุ้มกับผลลัพธ์ด้านการเสียชีวิตและคุณภาพชีวิต

            การศึกษาวิจัย Cluster Randomized Trial of PSA Testing for Prostate Cancer (CAP) ได้ประเมินผลการตรวจคัดกรอง prostate-specific antigen (PSA) และการวินิจฉัยมาตรฐานต่อการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในชายอายุ 50-69 ปี 419,582 ราย โดยศึกษาจากโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิ 573 แห่งในสหราชอาณาจักร การสุ่มและรวบรวมข้อมูลมีขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 2001-2009 และตรวจติดตามถึงวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2016 ผู้ป่วยได้รับการตรวจระดับ PSA หรือการวินิจฉัยมาตรฐาน (ไม่ได้ตรวจคัดกรอง) ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่มัธยฐานการตรวจติดตาม 10 ปี ผลลัพธ์หลักที่กำหนดไว้ก่อน ได้แก่ ระยะของมะเร็งและคะแนน Gleason grade (พิสัย 2-10 โดยคะแนนที่สูงบ่งชี้ว่ามีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี) ของมะเร็งต่อมลูกหมากที่ตรวจพบ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ การวิเคราะห์ตัวแปรเครื่องมือซึ่งประเมินผลลัพธ์จากการเข้าร่วมคลินิกตรวจคัดกรอง PSA

            จากชายที่ได้รับการสุ่ม 415,357 ราย (อายุเฉลี่ย 59.0 [5.6] ปี) คณะผู้ศึกษาวิจัยได้รวบรวมชาย 189,386 รายในกลุ่มทดลอง และ 219,439 รายในกลุ่มควบคุมไว้ในการวิเคราะห์ (n = 408, 825; ร้อยละ 98)   ในกลุ่มทดลองพบว่า 75, 707 ราย (ร้อยละ 40) เข้าร่วมคลินิกตรวจคัดกรอง PSA และ 67, 313 (ร้อยละ 36) ได้ตรวจ PSA จากชาย 64,436 รายที่ได้รับการยืนยันผลตรวจ PSA พบว่า 6,857 ราย (ร้อยละ 11) มีระดับ PSA ระหว่าง 3 นาโนกรัม/มิลลิลิตร และ 19.9 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ได้รับการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อต่อมลูกหมาก 5,850 ราย (ร้อยละ 85) หลังมัธยฐานการตรวจติดตาม 10 ปี พบว่า 549 ราย (0.30 รายต่อ 1,000 คน/ปี) เสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มทดลองเทียบกับ 647 ราย (0.31 รายต่อ 1,000 คน/ปี) ในกลุ่มควบคุม (ผลต่างเท่ากับ -0.013 รายต่อ 1,000 คน/ปี [95% CI -0.047 ถึง 0.022]; rate ratio [RR] เท่ากับ 0.96 [95% CI 0.85-1.08]; p = 0.50) จำนวนผู้ที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าในกลุ่มทดลอง (n = 8,054; ร้อยละ 4.3) เทียบกับกลุ่มควบคุม (n = 7,853; ร้อยละ 3.6) (RR 1.19 [95% CI 1.14-1.25]; p < 0.001) มะเร็งที่มีคะแนน Gleason grade เท่ากับ 6 หรือต่ำกว่าตรวจพบมากกว่าในกลุ่มทดลอง (n = 3,263/189, 386 [ร้อยละ 1.7]) เทียบกับกลุ่มควบคุม (n = 2,440/219 ,439 [ร้อยละ 1.1]) (ความต่างต่อ 1,000 คนเท่ากับ 6.11 [95% CI  5.38- 6.84]; p < 0.001)  การวิเคราะห์การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุพบการเสียชีวิต 25,459 รายในกลุ่มทดลองเทียบกับ 28 ,306 รายในกลุ่มควบคุม (RR เท่ากับ 0.99 [95% CI 0.94-1.03]; p = 0.49) ค่า causal RR ปรับตามความร่วมมือเท่ากับ 0.93 (95% CI 0.67-1.29; p = 0.66) จากการวิเคราะห์ตัวแปรเครื่องมือสำหรับการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก

            จากการศึกษาไม่พบความต่างด้านการเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมากระหว่างการคัดกรองระดับ PSA และเวชปฏิบัติมาตรฐานหลังมัธยฐานการตรวจติดตาม 10 ปี แต่พบอัตราที่สูงขึ้นของมะเร็งต่อมลูกหมาก ผลลัพธ์จากการศึกษาก็ไม่สนับสนุนการตรวจคัดกรอง PSA สำหรับการตรวจคัดกรองในระดับประชากร