ความสัมพันธ์ของ FH และคอเลสเตอรอลสูงต่อหลอดเลือดสมองตีบ

ความสัมพันธ์ของ FH และคอเลสเตอรอลสูงต่อหลอดเลือดสมองตีบ

Circulation. 2018;CIRCULATIONAHA.118.033470

            บทความเรื่อง Relationship of Familial Hypercholesterolemia and High LDL Cholesterol to Ischemic Stroke: The Copenhagen General Population Study รายงานว่า ภาวะคอเลสเตอรอลสูงในครอบครัว (familial hypercholesterolemia: FH) ทำให้ผู้ป่วยมี low-density lipoprotein (LDL) cholesterol สูงมากและทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจตาย อย่างไรก็ดี ยังคงมีข้อมูลไม่ชัดเจนว่า FH และระดับ LDL cholesterol ที่สูงส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบสูงขึ้นหรือไม่  

            คณะผู้ศึกษาวิจัยทดสอบสมมติฐานว่าผู้ที่ FH และ/หรือระดับ LDL cholesterol ที่สูงมีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคหลอดเลือดสมองตีบ โดยทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง FH และระดับ LDL cholesterol ที่สูงต่อความเสี่ยงหลอดเลือดสมองตีบในการวิเคราะห์สาเหตุ พันธุกรรม และการวิเคราะห์เชิงสังเกตจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 106,412 รายในการศึกษา Copenhagen General Population Study (CGPS โดยมีข้อมูลหลอดเลือดสมองตีบ 2,823 ราย และกล้ามเนื้อหัวใจตาย 3,792 ราย) และ/หรือกลุ่มตัวอย่าง 10,372 รายจากการศึกษา Copenhagen City Heart Study (CCHS โดยมีข้อมูลหลอดเลือดสมองตีบ 945 ราย และกล้ามเนื้อหัวใจตาย 1,142 ราย) คณะผู้ศึกษาวิจัยใช้วิธีสุ่มแบบเมนเดลสำหรับทดสอบว่าระดับ LDL cholesterol ที่สูงเป็นสาเหตุของหลอดเลือดสมองตีบหรือไม่ โดยใช้ FH causative mutations และ genetic variants ที่สัมพันธ์กับระดับ LDL cholesterol ที่สูง

            อุบัติการณ์สะสมในอาสาสมัครในการศึกษา CGPS ทั้งที่มีและไม่มี FH causative mutations ใกล้เคียงกันสำหรับ ischemic stroke (p = 0.50) แต่ต่างกันสำหรับกล้ามเนื้อหัวใจตาย (p < 0.001) จากการติดตามที่อายุ 80 ปี พบว่าร้อยละ 4 และร้อยละ 7 ของอาสาสมัครเกิดหลอดเลือดสมองตีบ โดยร้อยละ 20 และร้อยละ 8 เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซึ่งสอดคล้องกับผลลัพธ์จาก CCHS จากการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง clinical FH และหลอดเลือดสมองตีบ ยกเว้นกรณีที่รวมการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก่อนวัยอันควรไว้ในเกณฑ์ clinical FH  การมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่จุดเริ่มต้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อหลอดเลือดสมองตีบ ซึ่งอธิบายความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองตีบที่สูงขึ้นในผู้ที่มีระดับ LDL cholesterol ที่สูง โดยระดับ LDL cholesterol ที่สูงขึ้น 1 มิลลิโมล/ลิตร สัมพันธ์กับค่า genetic causal risk ratio ที่เท่ากับ 1.11 (0.62-2.02) สำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบ และ 1.45 (1.08-1.93) สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจตาย

            FH และ LDL cholesterol ที่สูงไม่มีผลให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อหลอดเลือดสมองตีบ ความสัมพันธ์ระหว่างหลอดเลือดสมองตีบที่พบจากเกณฑ์ clinical FH และระดับ LDL cholesterol ที่สูงอาจเป็นผลจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเดิมมากกว่าที่จะเป็นผลจากระดับ LDL cholesterol ที่สูง