คณะเภสัชศาสตร์ มข. ร่วมกับ ชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งฯ จัดงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน Clinical Oncology Pharmacy Symposium (COPS) ครั้งที่ 11

คณะเภสัชศาสตร์ มข. ร่วมกับ ชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งฯ จัดงานประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน Clinical Oncology Pharmacy Symposium (COPS) ครั้งที่ 11

         คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) จัดงานประชุมวิชาการ Clinical Oncology Pharmacy Symposium (COPS) ครั้งที่ 11 และนำเสนอผลงานภายใต้ธีม Beyond traditional boundaries of cancer care” ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ณ โรงแรมนารายณ์ กรุงเทพฯ

            โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญในปัจจุบัน การรักษาโรคมะเร็งมีวิธีการรักษาโดยทั่วไป ได้แก่ การผ่าตัด รังสีรักษา และการให้ยาเคมีบำบัด และมีวิธีการรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองหรือมีข้อบ่งชี้ในการรักษา เช่น การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น ยาเคมีบำบัดจัดเป็นกลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงหรือ High alert drugs เนื่องจากมีความเป็นพิษต่อผู้ป่วยมากแม้จะใช้ในขนาดรักษา ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับยามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ดังนั้น การใช้ยาเคมีบำบัดในรูปแบบรับประทานจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อบ่งใช้ ประสิทธิภาพที่จะได้รับ ตลอดจนอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ยาเพื่อให้ได้รับประสิทธิผลและความปลอดภัยสูงสุดในการรักษา บทบาทของเภสัชกรในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแต่การเตรียมยาเคมีบำบัดด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ แต่ยังเป็นการร่วมให้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยได้ใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพตามข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยทั้งจากอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดในระยะเฉียบพลันและในระยะยาว ตลอดจนมีทักษะในการคิด วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อนำผลการศึกษาไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น ด้วยความตระหนักในความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ภก.กมลศักดิ์ เรืองเจริญรุ่ง ประธานชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) กล่าวถึงที่มาของการจัดงานประชุมในปีนี้ว่า

            สำหรับการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน Clinical Oncology Pharmacy Symposium (COPS) ครั้งที่ 11 ภายใต้ธีม “Beyond traditional boundaries of cancer care” เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะแก่เภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขที่สนใจให้มีความพร้อมที่จะดำเนินงานด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการประชุมเพื่อนำเสนอผลงานวิจัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อไป

         รศ.ภก.ดร.สุภัสร์ สุบงกช ที่ปรึกษาชมรมเภสัชกรโรคมะเร็งภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ประเทศไทย) กล่าวเพิ่มเติมว่า รูปแบบของงานประชุมวิชาการClinical Oncology Pharmacy Symposium (COPS) ครั้งที่ 11 ได้เปิดโอกาสให้เภสัชกรได้นำเสนอผลงานในรูป Poster และ Oral presentation ภายใต้ธีม “Beyond traditional boundaries of cancer care” ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย

เช่น Introducing Cancer Survivorship in Oncology Pharmacy Practice โดย Assoc.Prof.Alex Chan, President of International Society of Oncology Pharmacy Practitioners (ISOPP) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับสากล นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดให้มี Round table meetings กับผู้เชี่ยวชาญให้เลือกเข้าสนทนากันถึง 6 หัวข้อ ได้แก่

Round table meetings

1. Managing immune related adverse event from immune checkpoint inhibitors

ภญ.จิตติประภา คนมั่น และ ภก.นพดล กองสุผล

2. Antibiotic prophylaxis in cancer patients

ภญ.ศรีวตรี ชาวสามทอง และ อ.ภญ.ขวัญจิต ด่านวิไล

3. Nutrition support in cancer patients

ภญ.นิรชร คูชลธารา และ ภญ.บุษบา ตระการสง่า

4. Oral cancer drugs: Oral cancer drug safe use and safe handling

ภก.ตรัย ธารพานิช และ อ.ภก.ทักษิณ จันทร์สิงห์

5. Novel trial designs in oncology

อ.ภญ.วรุณสุดา ศรีภักดี และ อ.ภก.ปิยรัตน์ พิมพ์สี

6. New national list of essential medicine 

ภญ.อภิรมย์ เหล่าเจริญเกียรติ และ ภญ.อุดมลักษณ์ รังสิยาภรณ์รัตน์

“APOPS Thailand และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม COPS ครั้งที่ 11 เป็นการเริ่มทศวรรษใหม่ของเภสัชกรสาขาโรคมะเร็งในทศวรรษที่สอง สำหรับหัวข้อการประชุมในครั้งนี้คือ Beyond traditional boundaries of cancer care หรือการบริบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ต่างไปจากวิธีการดั้งเดิม โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมสาขาโรคมะเร็งทั้งในระดับชาติ และระดับสากล ร่วมมือกันผลักดันและปลุกพลังให้เภสัชกรสาขาโรคมะเร็งไทยก้าวไกลและเป็นที่ยอมรับในเวทีสากล โดยคาดว่าจะมีเภสัชกรและบุคลากรทางการแพทย์สนใจเข้าร่วมงานประชุมครั้งนี้กว่า 200 คน” รศ.ภก.ดร.สุภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย

         ผู้สนใจลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://pharmoffice.kku.ac.th/iss/meetingcontrol/conference/57 โดยผู้เข้าร่วมครบทุกกิจกรรมจะได้รับหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องฯ ประมาณ 10.75 หน่วยกิต หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยสนับสนุนการวิจัยและประชุมวิชาการ โทรศัพท์ 0-4320-2378 ต่อ 48321, 48314, 48329