ยาต้านซึมเศร้าและอุบัติการณ์ของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นใน 10 ปี

ยาต้านซึมเศร้าและอุบัติการณ์ของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นใน 10 ปี

BMJ 2018;361:k1951.

            บทความเรื่อง Antidepressant Utilisation and Incidence of Weight Gain During 10 Years’ Follow-Up: Population Based Cohort Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาตามรุ่นเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระยะยาวระหว่างการจ่ายยาต้านซึมเศร้าและน้ำหนักตัว โดยรวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในฐานข้อมูล Clinical Practice Research Datalink ระหว่างปี ค.ศ. 2004-2014 ครอบคลุมผู้ป่วยชาย 136,762 ราย และหญิง 157,957 ราย ซึ่งมีข้อมูลดัชนีมวลกายอย่างน้อย 3 ชุด

            ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การจ่ายยาต้านซึมเศร้า อุบัติการณ์ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ตลอดจนการเปลี่ยนเป็นมีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ผู้ศึกษาวิจัยประมาณค่า rate ratios ที่ปรับแล้วด้วยตัวแบบ Poisson model ซึ่งปรับสำหรับอายุ เพศ ประวัติซึมเศร้า โรคที่พบร่วม การได้รับยากลุ่ม antiepileptics หรือ antipsychotics การปลีกตัว การสูบบุหรี่ และคำแนะนำโภชนาการ

            ในปีที่เข้าร่วมการศึกษามีผู้ป่วยชาย 17,803 ราย (ร้อยละ 13.0) และหญิง 35,307 ราย (ร้อยละ 22.4) ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 51.5 ปี (SD 16.6 ปี) ได้รับจ่ายยาต้านซึมเศร้า ระหว่างการตรวจติดตามระยะ 1,836,452 คน/ปี พบว่าอุบัติการณ์ของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับจ่ายยาต้านซึมเศร้าเท่ากับ 8.1/100 คน/ปี และในผู้ป่วยที่ได้รับจ่ายยาต้านซึมเศร้าเท่ากับ 11.2/100 คน/ปี ( rate ratio ที่ปรับแล้วเท่ากับ 1.21, 95% CI 1.19 -1.22; p < 0.001) ความเสี่ยงน้ำหนักเพิ่มขึ้นยังคงสูงขึ้นระหว่าง 6 ปีของการตรวจติดตาม ที่ 2 ปีของการรักษาพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านซึมเศร้าเป็นเวลา 1 ปีสำหรับเหตุการณ์ของน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ที่เพิ่มขึ้น 1 เหตุการณ์เท่ากับ 27 ราย (95% CI 25-29) ในผู้ที่มีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติตั้งแต่แรกพบว่าค่า rate ratio ที่ปรับแล้วสำหรับการเปลี่ยนเป็นน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเท่ากับ 1.29 (1.25-1.34)  ขณะที่ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินตั้งแต่แรกมี rate ratio ที่ปรับแล้วสำหรับการเปลี่ยนเป็นโรคอ้วนเท่ากับ 1.29 (1.25-1.33) อนึ่ง ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจไม่ใช่ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและอาจเป็นผลจากปัจจัยรบกวนที่หลงเหลืออยู่