ปัจจัยเสี่ยง การเสียชีวิต และผลลัพธ์ด้านหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ปัจจัยเสี่ยง การเสียชีวิต และผลลัพธ์ด้านหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

N Engl J Med 2018;379:633-44.

            บทความเรื่อง Risk Factors, Mortality, and Cardiovascular Outcomes in Patients with Type 2 Diabetes รายงานว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่ากลุ่มประชากรทั่วไป คณะผู้ศึกษาวิจัยจึงได้ศึกษาว่าความเสี่ยงการเสียชีวิตและเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถลดลงหรือป้องกันได้หรือไม่ 

            การศึกษาได้รวบรวมผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวม 271,174 รายในทะเบียน Swedish National Diabetes Register โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม 1,355,870 ราย ซึ่งเทียบเคียงด้านอายุ เพศ และพื้นที่   ผู้วิจัยได้ประเมินผู้ป่วยโรคเบาหวานตามเกณฑ์อายุและการพบปัจจัยเสี่ยงทั้ง 5 ประการ (ระดับ glycated hemoglobin สูง, ระดับ low-density lipoprotein cholesterol, มี albuminuria, สูบบุหรี่ และความดันโลหิตสูง)

            ผู้วิจัยประเมินความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อผลลัพธ์ (เสียชีวิต กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน สโตรค  นอนโรงพยาบาลเนื่องจากหัวใจล้มเหลว) ที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่และจำนวนตัวแปรนอกเหนือจากเป้าหมายด้วยตัวแบบ Cox regression นอกจากนี้ยังได้ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และผลลัพธ์ด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด

            มีรายงานการเสียชีวิต 175,345 ราย ระหว่างมัธยฐานการตรวจติดตาม 5.7 ปี ความเสี่ยงต่อผลลัพธ์ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลงตามจำนวนตัวแปรปัจจัยเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวานที่มีตัวแปรทั้ง 5 ตัวมี hazard ratio (เทียบกับกลุ่มควบคุม) เท่ากับ 1.06 สำหรับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (95% confidence interval [CI] 1.00-1.12), 0.84 (95% CI 0.75-0.93) สำหรับกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และ 0.95 (95% CI 0.84-1.07) สำหรับสโตรค ความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากหัวใจล้มเหลวสูงกว่าในผู้ป่วยเบาหวานเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (hazard ratio 1.45; 95% CI 1.34-1.57) ระดับ glycated hemoglobin ที่นอกเหนือระดับเป้าหมายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นปัจจัยพยากรณ์ที่สำคัญที่สุดต่อสโตรคและกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ขณะที่การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยพยากรณ์ที่สำคัญที่สุดต่อการเสียชีวิต

            ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีตัวแปรปัจจัยเสี่ยงทั้ง 5 ประการในระดับเป้าหมายมีความเสี่ยงการเสียชีวิต กล้ามเนื้อหัวใจตาย และสโตรคที่สูงขึ้นเล็กน้อยหรือไม่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม