“Building the Future of Healthcare 2019”

“Building the Future of Healthcare 2019” 
งานแสดงเครื่องมือแพทย์นานาชาติ และการประชุมวิชาการทางการแพทย์

บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด จัดงานแสดงเครื่องมือแพทย์นานาชาติ และการประชุมวิชาการทางการแพทย์ Medical Devices ASEAN 2019 (MDA 2019) ซึ่งได้รับความร่วมมือทางด้านวิชาการจากสมาคมวิชาชีพทางการแพทย์ด้านต่าง ๆ ภายใต้ธีม “Building the Future of Healthcare” เพื่อเน้นย้ำความเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียน โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ณ อาคาร 5-6 อิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี

            Medical Devices ASEAN 2018 (MDA 2018) นับเป็นครั้งแรกของ IMPACT สำหรับการจัดงานแสดงเครื่องมือแพทย์นานาชาติ การประชุมวิชาการทางการแพทย์ ตลอดจนการสัมมนาเพื่อภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจากองค์กรภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน ซึ่งเป็นการจัดงานที่ได้รวบรวมเทคโนโลยีทางการแพทย์และเวทีเจรจาธุรกิจเครื่องมือแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน โดยมีบริษัทชั้นนำร่วมแสดงสินค้ากว่า 150 แบรนด์จากทั่วโลก และผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 3,600 คน

         คุณนิชา อัครเมธากุล ผู้จัดการโครงการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด ผู้จัดงาน Medical Devices ASEAN (MDA) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานอย่างต่อเนื่องในปีนี้ว่า MDA 2019 จัดขึ้นเพื่อเป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการสนับสนุนให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่การเป็น Medical Hub of Asia หรือศูนย์กลางทาง การแพทย์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งเรื่องของการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือจุดดำเนินธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีการ แพทย์ เครื่องมือแพทย์ และบริการสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข และผู้ ประกอบการในอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ งานเดียวที่จะช่วยให้คุณได้ขยายตลาดสู่ธุรกิจอุตสาหกรรมดูแลสุขภาพทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน

            “จุดเด่นของงาน MDA 2019 ในปีนี้เราได้เพิ่มหัวข้อสัมมนาภาคภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ เทคโนโลยีทางการแพทย์และการลงทุน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้ผู้ประกอบการได้เห็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่าง ๆ จากต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมบรรยายภายในงานครั้งนี้ ในบางหัวข้อซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์กรในประเทศไทยก็ได้รับความอนุเคราะห์บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะบรรยายเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทยเพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานหรือบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศเข้าใจการลงทุนในภาคธุรกิจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยในปีนี้เราได้รับความร่วมมือจากภาควิชาการเพิ่มขึ้นอีกหลายด้าน เช่น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ให้การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยจะร่วมบรรยายเกี่ยวกับความปลอดภัยของบุคลากรและผู้ป่วย สำหรับผู้บริหารสถานพยาบาล เรายังได้รับความร่วมมือในการบรรยายวิชาการสำหรับการแพทย์ฉุกเฉินจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และมีการสาธิตในเรื่องที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจก็คือ Telemedicine หรือการนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ครอบคลุมไปจนถึงการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์อำนวยการ และหัวข้อสำคัญซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐได้รับการสนับสนุนการบรรยายจากกรมบัญชีกลาง” คุณนิชา อัครเมธากุล ผู้จัดการโครงการ กล่าวเพิ่มเติม

            สำหรับรูปแบบงาน MDA 2019 ยังคงความต่อเนื่องของคำว่า “Building the Future of Healthcare” ซึ่งภายในงานประกอบไปด้วยงานแสดงสินค้าและเครื่องมือแพทย์จากบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 150 แบรนด์ และคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานในครั้งนี้ประมาณ 4,200 คน ซึ่งถือว่าเป็นเวทีเจรจาธุรกิจด้านเครื่องมือแพทย์ที่ยิ่งใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ภายในงานได้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการทางการแพทย์ (MDA Conference) นอกจากหน่วยงานข้างต้นแล้ว ยังได้รับความร่วมมือจากรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมเวชสารสนเทศไทย สมาคมอุปกรณ์การแพทย์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย โดยในปีนี้ได้รับความร่วมมือเพิ่มเติมจาก 3 หน่วยงาน คือ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)

            หัวข้อการบรรยายและสัมมนาวิชาการจากสมาคมวิชาชีพทางการแพทย์ที่น่าสนใจมากมายตลอดระยะเวลา 3 วัน ซึ่งเน้นย้ำว่าไม่ควรพลาด ดังนี้

โดย: สมาคมเวชสารสนเทศไทย หัวข้อ: Digital Transformation of Healthcare
สำหรับ: แพทย์และบุคลากรด้านเวชสารสนเทศของโรงพยาบาล

โดย: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หัวข้อ: Care Airport Transport (รอการยืนยันหัวข้ออีกครั้ง) สำหรับ: แพทย์และบุคลากรด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

โดย: สมาคมเทคนิคการแพทย์ฯ หัวข้อ: Medical Technologist and Public Healthcare สำหรับ: นักเทคนิคการแพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

โดย: รังสีวิทยาสมาคม หัวข้อ: Good Practice in Radiology Service ผู้เข้าสัมมนา: รังสีแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

โดย: กรมบัญชีกลาง หัวข้อ: การจัดซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP) สำหรับ: เจ้าหน้าที่จัดซื้อ-พัสดุของโรงพยาบาลภาครัฐ

โดย: สมาคมอุปกรณ์การแพทย์ไทย สัมมนาและการประกวด: Thailand 2nd Contest of Technology for Elder Care สำหรับ: ท่านที่สนใจทางด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์การแพทย์

คุณกิจกมน ไมตรี ประธานบริหาร บริษัท เทลลี่ 360 จำกัด

            TELY360 เป็นบริษัทสายเลือดไทยแท้ 100% มุ่งมั่นในการดูแลและเข้าถึงสุขภาพแบบเชิงรุก เราคือผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมด้วยความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนา platform เน้นการนำนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ฉุกเฉินในส่วนของ prehospital ทั้งหมด เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย ตลอดจนสนับสนุนทางด้านการแพทย์ด้วยการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

            ปัจจุบันบริษัทฯ ได้แบ่งการพัฒนา platform ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

  • ส่วนของผู้ให้บริการ หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพทย์ฉุกเฉินทั้งหมด ซึ่งก็คือ AOC (Ambulance Operation Center) การบริหารจัดการรถพยาบาลแบบรวมศูนย์ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่รองรับการทำงาน 4 โมดูล คือ (1) Safety Ambulance คือ การติดตาม การส่งตำแหน่งของรถพยาบาล และเหตุการณ์บนรถพยาบาลไปยังศูนย์สั่งการทางการแพทย์หรือบนมือถือของแพทย์ได้แบบเรียลไทม์ (2) Patient Monitoring คือ เครื่องติดตามสัญญาณชีพแบบเรียลไทม์ที่สามารถวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 lead (3) Communication  คือ ระบบสื่อสารระหว่างแพทย์ ศูนย์สั่งการทางการแพทย์ และรถพยาบาล ช่วยให้แพทย์สามารถสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ได้แบบเรียลไทม์ (4) Ambulance 3rd Eye เป็นแว่นตาสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการใช้ในการสื่อสารกับศูนย์สั่งการขณะอยู่นอกรถพยาบาล
  • ส่วนของผู้ใช้บริการ หรือเป็นฝั่งของประชาชนทั่วไป ก็คือ A-LIVE ซึ่งเป็นส่วนของการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับเก็บข้อมูลสุขภาพของตัวเอง ประวัติการรักษา ถ่ายรูปจัดเก็บข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งทั้งหมดเป็นการเก็บแบบสมัครใจ และฟังก์ชันพิเศษซึ่งเชื่อมต่อกับระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (AOC) เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถเรียกรถพยาบาลได้ทันที

            “สำหรับนวัตกรรมซึ่งจะนำมาแสดงภายในงาน MDA 2019 ทาง TELY360 จะมีการจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินให้ผู้ เข้าร่วมงานเกิดภาวะ heart attack โดยในครั้งนี้บริษัทฯ ได้ยก Command Control Center หรือศูนย์สั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉินทั้งระบบมาติดตั้งไว้ภายในบริเวณสถานที่จัดงาน เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกเมื่อเจ้าหน้าที่ภายในได้รับการแจ้งเหตุด่วนและจัดส่งไลฟ์แอมบูแลนซ์หรือรถพยาบาลเพิ่มความปลอดภัยซึ่งติดตั้งระบบติดตามและระบุตำแหน่งรถพยาบาล ขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายนอกซึ่งนำอุปกรณ์ Ambulance 3rd Eye หรือแว่นตาอัจฉริยะมาใช้เพื่อให้ศูนย์สั่งการทางการแพทย์สามารถเห็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระบบสื่อสารเพื่อตอบโต้การปฏิบัติการบนรถพยาบาล และระบบสัญญาณชีพ ซึ่งระบบทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสามารถทำงานแบบเรียลไทม์ โดยขั้นตอนทั้งหมดจะแสดงให้เห็นระบบกู้ชีพและระบบส่งต่อผู้ป่วยที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดอัตราการสูญเสียชีวิตระหว่างการนำส่งโรงพยาบาล” คุณกิจกมน กล่าวทิ้งท้าย

         ผู้สนใจเข้าร่วมงานแสดงเครื่องมือแพทย์นานาชาติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณนิชา อัครเมธากุล โทรศัพท์ 0-2833-5290 หรือ E-mail: nichaa@impact.co.th หรือ E-mail: info@medicaldevicesasean.com สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการทางการแพทย์ โปรดลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://medicaldevicesasean.com/academic-conference-th/