BPA free สำคัญอย่างไร
ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะอาหารหรือขวดนมสำหรับทารกนั้น จะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย BPA free ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์อย่างชัดเจน เปรียบเหมือนส่วนหนึ่งของป้ายโฆษณาเครื่องหมายการค้าที่ขาดไม่ได้ และสัญลักษณ์นี้สำคัญอย่างไร
รูปที่ 1 ขวดนมสำรับทารก กับสัญลักษณ์ BPA free(1)
BPA หรือ Bisphenol A(2-4) เป็นสารเคมีประกอบหนึ่งในวัตถุที่เรียกว่า โพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate – Plastic) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตขวดนม ขวดน้ำดื่มมานาน โดยสารนี้มีคุณสมบัติช่วยให้ขวดนมหรือพลาสติกมีความแข็งแรง ใส ไม่แตกง่าย เมื่อบริโภคอาหารจากบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นก็มีโอกาสจะได้รับสาร BPA เข้าไปโดยไม่รู้ตัว ต่อมาได้มีการศึกษาวิจัยในประเทศแคนาดา และตรวจพบว่าสารชนิดนี้สามารถหลุดลอกออกมาจากขวดนมได้ หากขวดนมมีการแตกร้าว เสื่อมคุณภาพ และอยู่ในอุณหภูมิความร้อนสูง ๆ เช่น ระหว่างการต้มขวดนม หรือนึ่งขวดนม ปัจจัยหลักที่เป็นปัญหาคือ โรงงานผู้ผลิตบางโรงงานได้นำวัตถุดิบรีไซเคิลมาใช้ผลิตขวดนมเพื่อลดต้นทุน ภายหลังจึงได้มีการประกาศห้ามผลิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ปัจจุบันวัตถุดิบทางเลือกที่มาทดแทนการใช้ผลิตขวดนมมีหลายชนิด แต่วัตถุดิบที่ปลอดภัยที่สุดในขณะนี้คือ Polypropylene หรือ PP เนื่องจาก PP ได้รับรองจาก FDA (Food and Drug Administration คือ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้สามารถใช้ PP ผลิตอุปกรณ์ขวดนมสำหรับเด็กอ่อนได้ ส่วนวัตถุดิบตัวเลือกชนิดอื่น ๆ แม้ว่าจะมีการรับรอง หลายชนิดยังอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบหาสารอื่นที่มีอันตรายเพิ่มเติม(2-4)
รูปที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของ Bisphenol A (BPA)(3)
พลาสติกในกลุ่ม #7-other ซึ่งมักหมายถึง โพลีคาร์บอเนตอาจปลดปล่อย Bisphenol A (BPA) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต และจัดเป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน (hormone disrupter) และอาจถูกปลดปล่อยสู่อาหารและเครื่องดื่ม สารชนิดนี้จะมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ในงานวิจัยพบว่า BPA ทำให้น้ำหนักของสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น และมีผลต่อระดับฮอร์โมนในเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าการได้รับ BPA เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดการต้านอินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและโรคหัวใจ(5)
BPA เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร(2)
การเข้าสู่ร่างกายของ BPA นั้นจะเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ในเบื้องต้นตัวที่จะเร่งปฏิกิริยาคือ ความร้อน เช่น การต้ม นึ่ง หรือสเตอริไลซ์พลาสติกทำให้สารพิษหลุดและร่อนออกมาปะปนในอาหารยิ่งขึ้น สาร BPA จะแทรกซึมลงในของเหลวและอาหารที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่มีสาร BPA เช่น ขวดนม ขวดน้ำพลาสติก กล่องบรรจุอาหาร แล้วจึงเข้าสู่ร่างกายเมื่อรับประทานหรือดื่มเข้าไป
โทษของ BPA(2-5)
ชนิดของพลาสติกและการนำไปใช้(5)
รูปที่ 3 เครื่องหมายสัญลักษณ์ของพลาสติกประเภทต่าง ๆ บนบรรจุภัณฑ์
ในการเลือกใช้ภาชนะพลาสติกสำหรับการบรรจุหรือเก็บอาหาร ควรหลีกเลี่ยงพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ #3-PVC #6-PS หรือ #7-Polycarbonate และสามารถใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ ได้แก่ #1-PET #2-HDPE #4-LDPE และ #5-PP ในปัจจุบันนี้นอกจากภาชนะบรรจุอาหารสำหรับทารกแล้ว BPA free ยังนำไปใช้กับของเล่นพัฒนาการเด็กที่สามารถทนกับการกัดเล่นหรืออมเข้าปากของเด็กอีกด้วย ดังนั้น ในการแนะนำการเลือกใช้ของพลาสติกให้ปลอดภัยอาจให้สังเกตจากสัญลักษณ์ BPA free หรือกลุ่มสัญลักษณ์ประเภทของพลาสติกก็จะช่วยให้ผู้บริโภคใช้ของเครื่องใช้พลาสติกได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง