อภ.พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่น เพื่อคนไทยได้เข้าถึงยาดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง

อภ.พร้อมเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่น เพื่อคนไทยได้เข้าถึงยาดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง

องค์การเภสัชกรรมเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม .. 2509 ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 เป็นการรวมกันของกองโอสถศาลาและกองงานเภสัชกรรม เพื่อผลิตยาและเวชภัณฑ์ภายในประเทศ แก้ปัญหาการนำเข้ายาจากต่างประเทศและส่งเสริมเภสัชอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เจริญยิ่งขึ้น นอกจากการผลิตและจำหน่ายยาแก่ประชาชนทั่วไปแล้ว องค์การเภสัชกรรมยังมีหน้าที่วิจัยยาเพื่อป้องกันรักษาโรคภัยที่เกิดขึ้นใหม่ รวมถึงการให้ความรู้ถึงวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงเรื่องสุขอนามัยอื่น ๆ แก่ประชาชน

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ที่องค์การเภสัชกรรมได้มุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คนไทยว่าได้รับผลิตภัณฑ์คุณภาพมาตรฐานระดับสากล ทั้งนี้ในปีหน้าและปีต่อ ๆ ไป องค์การเภสัชกรรมจะก้าวไปสู่ทิศทางใดนั้น พล..ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม พร้อมด้วย นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม และคณะผู้บริหารองค์การเภสัชกรรม ร่วมแถลงผลการดำเนินงานในปี พ.. 2558 และทิศทางการดำเนินงานในปี พ.. 2559 และในอนาคตขององค์การเภสัชกรรม

พล..ศุภกร สงวนชาติศรไกร ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงผลการดำเนินงานว่า ในปี พ.ศ. 2558 องค์การเภสัชกรรมมียอดจำหน่ายรวมทั้งสิ้น 12,772 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี พ.ศ. 2557 ถึงจำนวน 1,295 ล้านบาท เป็นยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิต 6,552 ล้านบาท และยาผู้ผลิตอื่น 6,220 ล้านบาท สำหรับยอดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากที่องค์การเภสัชกรรมได้มีการปรับกระบวนการทำงานในหลายด้าน ทั้งในส่วนของรายการยาที่องค์การเภสัชกรรมดำเนินการผลิตเอง และในส่วนที่องค์การเภสัชกรรมทำหน้าที่จัดหาจากผู้ผลิตอื่นที่สามารถจัดหาได้ในราคาที่ต่ำลง ปัจจุบันองค์การเภสัชกรรมจะมีการสำรองยาและเวชภัณฑ์อยู่ในระบบเฉลี่ยรายการละ 3-4 เดือน โดยมุ่งเน้นยาที่มีมูลค่าการใช้สูง ยาจำเป็น ยาเชิงนโยบาย รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ที่มีผู้ผลิตและจำหน่ายน้อยราย แต่ยังมีความจำเป็นในระบบยาของประเทศ อาทิ ยาต้านพิษ ยากำพร้า ยาขาดแคลน องค์การเภสัชกรรมได้มีการสำรองไว้ในระบบกว่า 23 รายการ และจากการที่องค์การเภสัชกรรมได้ทำหน้าที่ผลิตและจัดหายาเชิงสังคม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุข การสนองนโยบายของรัฐ เพื่อทดแทนการนำเข้า ตลอดจนยาที่มีผู้ผลิตน้อยรายซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาจำเป็นพื้นฐาน ยาที่มีมูลค่าการใช้สูง องค์การเภสัชกรรมดำเนินการสามารถทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านยาได้เป็นจำนวนเงินถึง 5,343 ล้านบาท คิดเป็น 64.23% ของงบประมาณที่ต้องจ่าย โดยแบ่งเป็นประหยัดจากยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตเองจำนวน 3,692 ล้านบาท และจากการจัดหาจากผู้ผลิตรายอื่น จำนวน 1,651 ล้านบาท ประหยัดได้เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2557 ถึงจำนวน 1,965 ล้านบาท (ปี พ.ศ. 2557 ประหยัดได้จำนวน 3,378 ล้านบาท)

พล..ศุภกร กล่าวต่อว่า เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมได้ดำเนินการผลิตยาที่โรงงานแห่งใหม่ที่รังสิตแล้ว โดยมีการดำเนินการผลิตภายใต้มาตรฐานระดับสากล GMP PIC/S ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ใช้เป็นแนวทางในการตรวจให้การรับรอง โรงงานผลิตยาแห่งนี้ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยและระบบอัตโนมัติมาใช้ในการควบคุมทุกกระบวนการผลิตอย่างครบครันเป็นแบบ Real time หากขั้นตอนการผลิตใดไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด ระบบจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป โรงงานแห่งใหม่นี้ดำเนินการผลิตยาเม็ดและยาแคปซูลจำนวน 32 รายการ มีกำลังการผลิตสูงถึง 2,500 ล้านเม็ดต่อปี เพิ่มขึ้นกว่า 50% ของโรงงานเดิมที่ ถ.พระรามที่ 6 โดยผลิตยาในกลุ่มยาที่มีมูลค่าการใช้สูง ยาที่มีความจำเป็นต่อระบบสาธารณสุขไทย และจะทยอยเปิดสายการผลิตยาให้ครบทุกรายการในเร็ว ๆ นี้

ในส่วนของการดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนก ตามมาตรฐาน WHO GMP ที่ จ.สระบุรี นั้น ขณะนี้บริษัทผู้รับจ้างได้เข้าดำเนินการก่อสร้างต่อแล้ว ซึ่งจะใช้เวลาก่อสร้างอีกประมาณ 1 ปีครึ่ง เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจะดำเนินการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ในการนำไปทดสอบประสิทธิผลทางคลินิก ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี เพื่อขอขึ้นทะเบียนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในภาวะปกติด้วย โรงงานวัคซีนนี้จะมีกำลังการผลิตได้เริ่มต้นปีละ 2 ล้านโด๊ส และขยายได้สูงสุดถึง 10 ล้านโด๊ส ทั้งนี้ในกรณีเกิดการระบาดใหญ่จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 60 ล้านโด๊ส

ส่วนการพัฒนาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายในโรงงานต้นแบบนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1/2 และจะเตรียมการศึกษาต่อในระยะที่ 3 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 โดยคาดว่าจะทราบผลการศึกษาวิจัยทางคลินิกทั้งหมดในกลุ่มอายุ 12-49 ปี ในปี พ.ศ. 2560 และจะดำเนินการเพื่อขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต่อไป โดยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้จะใช้สำหรับดำเนินการผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วย โดยการวิจัยและพัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์รองรับการระบาดใหญ่ ได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2558 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ด้านสังคม จากผลงานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 40 ผลงาน

พล..ศุภกร ยังกล่าวต่ออีกว่า ในอนาคตไม่เกินปี พ.ศ. 2563 นี้ องค์การเภสัชกรรมมีแผนงานการปรับปรุง ก่อสร้างโรงงานใหม่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในทุกสายการผลิต ทั้งยา เวชภัณฑ์ และเภสัชเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า 50% และแผนการปรับปรุงการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาและเวชภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หลายแผนงานที่สำคัญ อาทิ แผนการก่อสร้างโรงงานผลิตยาแห่งใหม่ในเฟส 2 เพื่อผลิตยาน้ำ ครีม ขี้ผึ้ง ยาปราศจากเชื้อ และยาเม็ด แผนการก่อสร้างโรงงานผลิตเภสัชเคมีภัณฑ์แห่งใหม่ เพื่อผลิตเคมีภัณฑ์ ชุดทดสอบ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ วัตถุดิบทางยา แผนการก่อสร้างและพัฒนาระบบคลังและกระจายสินค้าให้มีความทันสมัย ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น กระจายได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง แผนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบริหารจัดการระบบใหม่ หรือ ERP (Enterprise resource planning) มาใช้ในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตยาตามมาตรฐาน GMP PIC/S ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังเห็นว่าการสร้างความมั่นคง ยั่งยืน ด้านยาให้แก่ประเทศ ดำเนินเพียงลำพังแต่องค์การเภสัชกรรมไม่ได้ จึงมีแผนสร้างพันธมิตรร่วมมือวิจัย และพัฒนายาและเวชภัณฑ์ รวมถึงการผลิตยาและเวชภัณฑ์กับผู้ผลิตยาอื่น ๆ และหน่วยงานต่าง ๆ อีกด้วย

ด้าน นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2558 องค์การเภสัชกรรมได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จำนวน 5 รายการ รวมทั้งได้มีการจัดหายาที่จำเป็นทั้งยาที่องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ผลิต และยาที่จัดหาจากบริษัทผู้ผลิตอื่น เพื่อส่งไปยังหน่วยบริการสาธารณสุขอีก 5 รายการ โดยในส่วนของการกระจายยาและเวชภัณฑ์เพื่อสร้างการเข้าถึงยานั้น จะดำเนินการตลาดเชิงรุกในกลุ่มโรงพยาบาลภาครัฐ โรงเรียนแพทย์ กลุ่มโรงพยาบาลเอกชน และคลินิก โดยมุ่งเน้นการทำการตลาดในกลุ่มยา CVS ใช้รักษาความดันโลหิต หัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นมีการพัฒนารูปแบบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและอาหารเสริมผ่านระบบ E-commerce พร้อมพัฒนาระบบ Logistic โดยพัฒนาระบบ Real VMI และ Smart VMI ซึ่งเป็นระบบบริหารคลังยาร่วมกับหน่วยบริการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปรับกระบวนการภายในของหน่วยงานด้านการตลาดให้สามารถรองรับการใช้พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฉบับใหม่ ระบบ E-marketing และ E-bidding พร้อมทั้งจะเพิ่มช่องทางการเข้าถึงยาระดับอำเภออย่างน้อยร้อยละ 60 ของอำเภอในปี พ.ศ. 2563 และจัดให้การสำรองและกระจายยาสำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพิเศษ ส่วนด้านการวิจัยด้านยาและสมุนไพรจะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่น้อยกว่า 25 รายการ เมื่อสิ้นแผนปี พ.ศ. 2563 และยังจะคงทำหน้าที่ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณในการจัดหายาและเวชภัณฑ์ให้ได้ปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 45

ด้านการขยายตลาดลูกค้าต่างประเทศนั้น จะเน้นตลาด AEC อาทิ ขยายตลาดใหม่ โดยสรรหาตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ที่มีศักยภาพ เพื่อขึ้นทะเบียนยา และทำการตลาดในประเทศเป้าหมาย ขยายตลาดกลุ่มยาที่มีศักยภาพ และมีคู่แข่งน้อยราย โดยจะเพิ่มยอดจำหน่ายยาไปยังกลุ่มประเทศ AEC ประกอบด้วย ลาว กัมพูชา เวียดนาม พม่า มาเลเซีย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

สุดท้ายนี้ นพ.นพพร กล่าวยืนยันว่า องค์การเภสัชกรรมเป็นหน่วยงานหลักของรัฐที่ผลิตยาสู่ระบบสาธารณสุขของประเทศ คุณภาพยาเป็นเรื่องที่พนักงานทุกคนตระหนัก และทำตามมาตรฐานGMP PIC/S อย่างเคร่งครัด องค์การเภสัชกรรมได้มีการลงทุนในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่สูงขึ้น ด้วยงบประมาณไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาทต่อปี ซึ่งตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานต่อไป องค์การเภสัชกรรมมีความมุ่งหวังที่จะให้ประชาชนคนไทยได้เข้าถึงยาที่ดีมีคุณภาพอย่างทั่วถึง และเพียงพอ อีกทั้งยังเป็นเสาหลักความมั่นคง ยั่งยืน ด้านยาให้แก่ประเทศ