ผลการวิจัยล่าสุดชี้ ใช้ยา PPI ติดต่อกันเป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร

ผลการวิจัยล่าสุดชี้ ใช้ยา PPI ติดต่อกันเป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร

Medscape Medical News: ผลการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยโดย Nele Brusselaers และคณะผู้วิจัยจาก the Karolinska Institutet และ the Karolinska University Hospital ประเทศสวีเดนเกี่ยวกับโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้ที่มีประวัติการใช้ยาในกลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) ติดต่อกันเป็นเวลานานมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารมากขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา

ข้อมูลดังกล่าวนี้มาจากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูลในประเทศสวีเดนโดยมีข้อมูลของประชากรกว่า 796,000 คนที่ไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งมาก่อนและมีประวัติการใช้ยาในกลุ่ม PPI อย่างต่อเนื่องในช่วงปี ค.ศ. 2005-2014 ในจำนวนประชากรทั้งหมดนี้มีเพศหญิงคิดเป็น 58.5% และเป็นผู้มีอายุเกินกว่า 70 ปีคิดเป็น 34% ซึ่งจากข้อมูลผู้ใช้ยาดังกล่าว ข้อบ่งชี้ส่วนใหญ่ของการใช้ยา ได้แก่ มีการใช้ยา aspirin หรือยากลุ่ม NSAIDs, ได้รับการวินิจฉัยเป็น gastroduodenitis หรือ peptic ulcer และมีส่วนน้อยที่ใช้ยาเนื่องจากเหตุอื่น ๆ

            เมื่อนำข้อมูลการติดตามผู้ป่วยทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์พบว่าผู้ที่ใช้ยา PPI นั้นมีค่า overall standardized incidence ratio (SIR) ในการเกิด esophageal adenocarcinoma มากถึง 3.93 และ overall SIR ของการเกิด esophageal squamous cell carcinoma ถึง 2.77 ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในประชากรอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 20,177 คนที่ใช้ยาในกลุ่ม histamine-2 receptor antagonists เช่น raniditine แทน PPI พบว่าไม่เพิ่มอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร (SIR 0.39 สำหรับ adenocarcinoma และ 0.50 สำหรับ squamous cell carcinoma)

            ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับผลการศึกษานี้ว่า ความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งดังกล่าวนี้ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่ามีความสัมพันธ์กันเชิงเป็นสาเหตุจริงหรือไม่ และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหารจากการมีกรดไหลย้อนก็ยังคงจำเป็นต้องใช้ต่อไปก่อน