อากาศที่ร้อนจัดอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายเสียชีวิตมากขึ้น

อากาศที่ร้อนจัดอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้ายเสียชีวิตมากขึ้น

            Medscape Medical News: ผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะท้าย (end-stage renal disease; ESRD) ชี้อากาศที่ร้อนจัดมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในวันเดียวกันได้

เป็นที่ทราบกันดีก่อนหน้านี้แล้วว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมีผลกระทบต่อการดำเนินโรคในหลายโรค แต่ยังไม่เป็นที่ทราบหรือให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพอากาศกับการดำเนินโรคในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรค ESRD ดังนั้น Richard Remigio ผู้วิจัยจาก University of Maryland จึงทำการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยโรค ESRD ที่มารับการรักษาด้วยการฟอกเลือดแทนไตที่ศูนย์ Fresenius Kidney Care จำนวน 3 แห่งในเมือง Boston, Philadelphia และ New York ในช่วงปี ค.ศ. 2001-2012 จำนวน 7,445 ราย มาทำการวิเคราะห์ ซึ่งผลการศึกษาออกมาพบว่าในวันที่มีอากาศร้อนจัด (คือมีอุณหภูมิสูงสุดในวันนั้นมากกว่า 95th percentile ของอุณหภูมิสูงสูดในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา) sagame สัมพันธ์กับการที่ผู้ป่วย ESRD ต้องเข้ารับการรักษาในวันเดียวกันนั้นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27 เทียบกับวันอากาศไม่ร้อน (95% CI 1.13-1.43) และการที่เสียชีวิตในวันเดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 31% (95% CI 1.01-1.70) นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าผู้ป่วย ESRD ที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease; COPD) และโรคหัวใจล้มเหลว (congestive heart failure) เป็นต้น ซึ่งมีผลเพิ่มโอกาสในการเสียชีวิตถึงร้อยละ 83, 60 และ 55 ตามลำดับ

เมื่อทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้โดยคำนึงถึงเชื้อชาติ พบว่าผลกระทบดังกล่าวชัดเจนมากในกลุ่มคนผิวขาว และมีผลกระทบบางส่วนในกลุ่ม African แต่ไม่พบผลกระทบกับคนในกลุ่มเอเชียและกลุ่ม Hispanic

ผู้วิจัยกล่าวว่าข้อมูลที่พบนี้นับว่ามีประโยชน์มากเนื่องจากจะช่วยทำให้แพทย์ใส่ใจการดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น ซึ่งอาจช่วยทำให้คุณภาพของการดูแลรักษาผู้ป่วยดีขึ้นได้