สถาบันแบลคมอร์สจัดอบรมหลักสูตร “CMEd Master Class” ตอกย้ำความแกร่งของเภสัชกรไทยต่อความใส่ใจในการดูแลสุขภาพประชาชน

สถาบันแบลคมอร์สจัดอบรมหลักสูตร “CMEd Master Class” ตอกย้ำความแกร่งของเภสัชกรไทยต่อความใส่ใจในการดูแลสุขภาพประชาชน

ได้รับความสนใจและเสียงตอบรับเป็นอย่างดี สำหรับการจัดอบรม Master Class หลักสูตร Complementary Medicines Education (CMEd) ที่สถาบันแบลคมอร์ส ประเทศไทย ได้จัดขึ้น ณ โรงแรมเรดิสัน บลู พลาซา บางกอก เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้นับเป็นปีที่ 2 ภายหลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้พัฒนาหลักสูตร CMEd ขึ้น เพื่อให้เภสัชกรผู้ที่ผ่านหลักสูตรขั้นพื้นฐาน ได้แก่ เภสัชกรผู้ที่ลงทะเบียนทำ pre survey, เรียน CMEd online ครบ 7 modules และทำ post survey ก่อนวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เภสัชกรมีความรู้เพิ่มเติมในเรื่องโภชนเภสัชภัณฑ์ (Complementary Medicines) หรือวิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยสามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย รวมถึงการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน ด้วยรูปแบบพิเศษโดยการใช้กรณีศึกษา ซึ่งเป็นจุดเด่นของการฝึกอบรมหลักสูตรระดับ Master Class ที่จะมีการหยิบยกกรณีศึกษาของผู้รับบริการจริงที่อาจจะมีการใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมด้วย

สำหรับเภสัชกรผู้สนใจเกี่ยวกับหลักสูตร CMEd (Complementary Medicines Education) ว่า คืออะไร” และทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าร่วมอบรมในหลักสูตร “Master Class” ได้  เกี่ยวกับเรื่องนี้นั้น ดร.ภญ.อโนมา เจริญทรัพย์ ผู้จัดการด้านการศึกษา สถาบันแบลคมอร์ส ประเทศไทย ได้ให้รายละเอียดว่า หลักสูตร CMEd หรือ Complementary Medicines Education ว่า หลักสูตร CMEd คือการศึกษาอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับโภชนเภสัชภัณฑ์ (Complementary Medicines) หลักสูตรการอบรมแบบเต็มรูปแบบแรกที่พัฒนาโดยสถาบันแบลคมอร์ส และได้รับรางวัล NUTRA Ingredients Asia Awards 2018, LearnX Asia Pacific Platinum 2019 Award  สำหรับ Best Learning and Development Project และ AITD Excellence Awards 2019 (Australia Institute of Training and Development) สำหรับ ‘Best Blended Learning Program’ for the Complement Medicine Program เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์ผสมผสานที่นำไปใช้เสริมหรือใช้ร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน ในเรื่องวิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ ร่วมกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อให้เภสัชกรสามารถนำความรู้เหล่านั้นมาวิเคราะห์ผู้ป่วยและให้คำปรึกษาในการรักษาเสริมควบคู่กับการใช้ยา โดยหลักสูตรแบ่งเป็น 3 ระดับ ขั้นพื้นฐาน (Bronze level) ขั้นกลาง (Silver level)  และขั้นสูง (Gold level) ซึ่งผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้เนื้อหาผ่านทาง Online และเข้าอบรมในชั้นเรียน  Master Class ซึ่งเป็นการอบรมรูปแบบพิเศษโดยใช้กรณีศึกษา และรวมองค์ความรู้ทั้งหมดมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติผ่านวิทยากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากสถาบันแบลคมอร์ส

            หลักสูตรขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการเรียนออนไลน์ (Online Modules) 7 บทเรียน ได้แก่ 1. Introduction to Complementary Medicines, 2. Vitamins in Health and Disease, 3. Minerals in Health and Disease, 4. Safety of Complementary Medicines, 5. Essential fatty acids in Health and Disease, 6. Herbs in Health and Disease (Part 1) และ 7. Herbs in Health and Disease (Part 2) เมื่อเรียนครบหลักสูตรขั้นพื้นฐานแล้ว หลังจากนั้นจะเป็นการเข้าอบรมในชั้นเรียน (Master Class) ด้วยรูปแบบพิเศษ โดยเภสัชกรผู้เข้าอบรมจะเรียนรู้เทคนิคพร้อมกับเครื่องมือในการแนะนำที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยใช้กรณีศึกษา (Case study) ที่ประยุกต์การปฏิบัติการทางคลินิก เช่น ผู้ที่มีภาวะไขมันสูง ความดันโลหิตสูง และมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ในฐานะเภสัชกรจะแนะนำผู้ป่วยเหล่านี้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Complementary Medicines ที่อาจจะเข้ามามีบทบาท รวมถึงรูปแบบในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ช่วยเภสัชกรในการแนะนำผู้ป่วย ประกอบด้วย คู่มือ Integrative prescribing guide, คู่มือแนะนำผู้ป่วยหรือผู้บริโภค และคู่มืออันตรกิริยาระหว่างยาที่ใช้กับ Complementary Medicines เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตบางกลุ่มอาจจะเกิดปัญหาขาดแร่ธาตุสังกะสี ดังนั้น การซักประวัติและอาการเป็นสิ่งสำคัญและอาจแนะนำอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสี หรืออาจจำเป็นต้องเสริมผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารนั้นได้พอเพียง ผู้ที่รับประทานยาลดไขมันอาจมีปัญหาเรื่องการขาดโคเอนไซม์คิวเท็น ซึ่งอาจเข้ามาด้วยอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การเสริมด้วยโคเอนไซม์คิวเท็นจะเป็นประโยชน์ในคนไข้กลุ่มนี้มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด การใช้ Complementary Medicines อาจจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้ผู้เรียนจบหลักสูตร CMEd ขั้นพื้นฐานจะได้รับสิทธิ์ในการเรียนหลักสูตรชั้นกลางและชั้นสูงต่อไป

ปัจจุบัน CMEd เปิดตัวในหลายประเทศครอบคลุมเกือบทั้งเอเชีย เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน และฮ่องกง นอกจากนี้ได้มีการเปิดตัวหลักสูตรชั้นกลาง (Silver level) ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีการจัดทำเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนได้ที่ www.blackmoresinstitute.org สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ education.th@blackmores.co.th หรือ ติดต่อแผนก Education สถาบันแบลคมอร์ส โทรศัพท์ 02-203-7900

            ด้าน ภญ.อุษาพร ศรีสุวัจฉรีย์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมการอบรม กล่าวถึงสาเหตุที่สนใจเข้าร่วมการอบรมครั้งนี้ว่า รู้จักหลักสูตร CMEd จากการประชาสัมพันธ์ของสถาบันแบลคมอร์ส คิดว่าเป็นหลักสูตรที่ดีและน่าสนใจ มีความพิเศษกว่าการฝึกอบรมทั่วไปตรงที่เปิดโอกาสให้ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหมู่เภสัชกรด้วยกัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในร้านได้จริง ๆ 

            “การมาร่วมอบรมหลักสูตร Master Class ที่สถาบันแบลคมอร์สจัดขึ้นมาแล้วได้ประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องประโยชน์ของวิตามิน หรือ Complementary Medicines แม้จะเป็นเรื่องที่เภสัชกรมีความรู้อยู่แล้ว แต่ในเรื่องของการนำมาใช้ บางครั้งข้อมูลที่ได้อาจจะมีจำนวนมากไป ตลอดจนเวลาที่จะนำมาใช้ การรวบรวม การประเมินผล หรือการตีกรอบความคิดแบบองค์รวม เมื่อคิดคนเดียวอาจจะมีการขาดตกบกพร่องไป หรือคิดไม่ครบ การมาอบรมจึงเปรียบเสมือนกับการมีพื้นที่ให้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อน ๆ เภสัชกรทำให้เราคิดได้ครอบคลุมขึ้น สามารถนำมุมมองในเรื่องของการรักษาต่าง ๆ ไปใช้กับคนไข้ได้ นอกจากนี้ประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้รับคือ การได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน แลกเปลี่ยน Case study กัน ได้เห็นหลักฐาน Database ที่เป็น Clinical trial ที่มีการทดลองหรือศึกษาวิจัยมาแล้วในเรื่องของ Complementary Medicines แต่ละตัวว่ามีข้อมูลหลักฐานในเรื่องของผลข้างเคียง มี Case report อย่างไรบ้าง ซึ่งจุดนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากเราเป็นเภสัชกร การดูแลคนไข้ เรื่องของความปลอดภัยในการใช้ทั้งในเรื่องของยาและอาหารเสริมต่าง ๆ ถือว่ามีความสำคัญสำหรับเรา”

            นอกจากนี้ ภญ.อุษาพร ยังกล่าวถึงหัวข้อที่ให้ความสนใจเป็นพิเศษว่า สนใจในกลุ่มของโอเมก้า 3 (Omega 3) โดยเฉพาะเรื่องของการนำไปใช้เนื่องจากเป็นเรื่องที่กำลังเป็นกระแสที่คนให้ความสนใจที่เราควรจะต้องอัพเดทความรู้ในเรื่องการนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ เพราะโอเมก้า 3 ถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็มีข้อที่พึงต้องระวังในกรณีที่ใช้ขนาดสูง (โอเมก้า 3 มากกว่า 3,000 มิลลิกรัม) ในผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด การได้มาอบรมแลกเปลี่ยนความรู้และคิดแบบองค์รวมจะส่งผลต่อไปถึงการดูแลคนไข้ได้ดีขึ้น

            ภญ.อุษาพร ยังกล่าวถึงการนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการทำงานว่า ส่วนตัวชอบแนวคิดของทางสถาบันแบลคมอร์สที่มีหลักการวิธีการคิด มีขั้นตอนการคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อนำมาสู่สิ่งสุดท้ายคือ การสื่อสารให้เข้าใจ ที่สำคัญคือ ทางสถาบันแบลคมอร์สมีข้อมูลและเครื่องมือต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสรุปข้อมูลซึ่งเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายที่เราสามารถนำไปประกอบการให้ความรู้ หรือข้อมูลกับคนไข้ได้ เพราะบางครั้งข้อมูลที่มีอาจจะมีมากหรือล้นเกินไปจนไม่สามารถขมวดหรือสื่อสารเข้าไปได้อย่างตรงจุด แต่ถ้าเรามีอุปกรณ์ช่วยเสริม เช่น แผ่นภาพ หรืออะไรที่จะมาช่วยสื่อทำให้ลูกค้าหรือคนไข้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อการอธิบาย

            “เภสัชกรถือเป็นคนที่มีบทบาทใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด เพราะเวลาที่เขาเจ็บป่วย หรือไม่สบาย รวมถึงการดูแลป้องกันสุขภาพ เขาก็จะมาที่ร้านยาเป็นอันดับแรกเพื่อมาขอคำปรึกษาจากเภสัชกร ดังนั้น ถ้าเรายิ่งอัพเดทความรู้ ฝึกคิดวิเคราะห์วิธีคิดแบบองค์รวมก็จะทำให้เรามีความรู้มากขึ้น และเราก็จะสามารถให้คำแนะนำแก่ลูกค้าที่มาปรึกษาเราได้ดีมากขึ้น ที่สำคัญถ้าลูกค้าที่มารับบริการจากเราสามารถปฏิบัติตัวตามที่แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพ การใช้ยา หรือ Complementary Medicines เสริมจากยาแล้ว แน่นอนสุดท้ายเขาก็จะนึกถึงเราและกลับมาเป็นลูกค้าประจำของเราตลอดไป สิ่งนี้ถือเป็นความสัมพันธ์ที่จะได้รับในระยะยาวและเป็นบทบาทที่สำคัญกับเราซึ่งเป็นร้านยาในชุมชนด้วย”

            ท้ายสุดนี้ ภญ.อุษาพร อยากจะขอเชิญชวนเภสัชกรทุกคนมาลงทะเบียนเพื่อเสริมความรู้ในหลักสูตร CMEd ว่า จุดเด่นของหลักสูตร CMEd คือ การเริ่มต้นจากการได้ทบทวนความรู้ของตัวเองด้วยการเป็น Self  learning ทาง E-learning online เมื่อเราทบทวนความรู้พื้นฐานทั่วไปแล้วก็จะมาสู่หลักสูตร “Master Class” ซึ่งจะแตกต่างจากการอบรมทั่วไปที่จะเน้นการประชุมเพียงมุมเดียว คือการฟังและจด หรืออาจจะมีการเปิดโอกาสให้ถามคำถามซึ่งจะให้เวลาไม่มากประมาณ 5-10 นาที แต่การอบรมหลักสูตร “Master Class” จะเป็นเหมือนพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้แก่เภสัชกรได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์สู่กัน ซึ่งจะช่วยทำให้เราเกิดการตกผลึกทางความรู้ที่ได้รับมาให้มีมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงอยากเชิญชวนเภสัชกรชุมชน หรือเภสัชกรร้านยา ถ้าท่านใดมีโอกาสก็อยากให้มาเข้าร่วมในหลักสูตร CMEd เพื่อมาแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการใช้ยา รวมถึง Complementary Medicines หรือกลุ่มอาหารเสริมต่าง ๆ ในคนไข้จริง มาแลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อที่จะได้เก็บมุมมอง หรือความรู้ใหม่ ๆ จุดใดที่ควรระวังเราก็จะได้ทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงยังได้รับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่มีประโยชน์ที่อาจคิดไม่ถึง เช่น พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ เราก็จะได้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้จากตรงนี้เพื่อนำไปประยุกต์หรือปรับใช้กับคนไข้ของเรา เพื่อที่เราจะได้ดูแลพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น