ความปลอดภัยและประสิทธิภาพกรดยูริกในผู้ป่วย Acute Stroke

ความปลอดภัยและประสิทธิภาพกรดยูริกในผู้ป่วย Acute Stroke

The Lancet Neurology. 2014;13(5):453-460.

บทความเรื่อง Safety and Efficacy of Uric Acid in Patients with Acute Stroke (URICO-ICTUS): A Randomised, Double-Blind Phase 2b/3 Trial รายงานว่า กรดยูริกเป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีฤทธิ์ในการปกป้องเซลล์ประสาทจากตัวแบบทดลองของสโตรค นักวิจัยได้ศึกษาผลของกรดยูริกต่อการฟื้นฟูผลลัพธ์ด้านหน้าที่ที่ 90 วันในผู้ป่วย acute ischemic stroke ในงานวิจัย URICO-ICTUS ซึ่งศึกษาในผู้ป่วย acute ischemic stroke จากโรงพยาบาล 10 แห่งในสเปน เกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ มีอายุ 18 ปีหรือมากกว่า ได้รับ alteplase ภายใน 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ มีคะแนน National Institutes of Health Stroke Scale (NIHSS) (> 6 และ ≤ 25) และมีคะแนน modified Rankin Scale (mRS) ก่อนป่วย (≤ 2) นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วยได้รับกรดยูริก 1,000 มก. หรือยาหลอก (ทั้งแบบสารน้ำหรือให้ทางหลอดเลือดดำใน 90 นาที ระหว่างการให้ alteplase แบบสารน้ำ) และจำแนกตามโรงพยาบาลและความรุนแรงของสโตรคที่พื้นฐาน ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีผลลัพธ์ดีเยี่ยม (คะแนน mRS score เท่ากับ 0-1 หรือ 2 หากคะแนนก่อนป่วยเท่ากับ 2) ที่ 90 วัน โดยวิเคราะห์ในกลุ่ม target population (ผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่มซึ่งวินิจฉัย ischemic stroke ถูกต้องและได้รับยาที่ศึกษา)

ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2013 นักวิจัยได้สุ่มให้ผู้ป่วย 421 ราย ซึ่ง 411 ราย (98%) อยู่ในกลุ่ม target population (211 รายได้รับกรดยูริก และ 200 รายได้รับยาหลอก) ผู้ป่วย 83 ราย (39%) ซึ่งได้รับกรดยูริก และ 66 ราย (33%) ซึ่งได้รับยาหลอกมีผลลัพธ์ดีเยี่ยม (adjusted risk ratio 1.23 [95% CI 0.96-1.56]; p = 0.099) และไม่พบความแตกต่างทางคลินิกหรือความแตกต่างทางสถิติที่มีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่มในด้านการตาย (28 ราย [13%] ซึ่งได้รับกรดยูริก vs 31 ราย [16%] ซึ่งได้รับยาหลอก) เลือดออกในเนื้อสมอง (9 ราย [4%] vs 6 ราย [3%]) และโรคเกาต์ (1 ราย [< 1%] vs 4 ราย [2%]) โดยพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 516 ครั้งในกลุ่มที่ได้รับกรดยูริก และ 532 ครั้งในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก โดยเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง 61 ครั้ง (12%) และ 67 (13%) ตามลำดับ (p = 0.703)

การเสริมกรดยูริกร่วมกับการให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่ได้เพิ่มสัดส่วนผู้ป่วยที่มีผลลัพธ์ดีเยี่ยมหลัง stroke เทียบกับยาหลอก ขณะเดียวกันก็ไม่มีปัญหาด้านความปลอดภัย