เปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระยะยาวป้องกันหอบหืดกำเริบ

เปรียบเทียบประสิทธิผลการรักษาระยะยาวป้องกันหอบหืดกำเริบ

BMJ 2014;348:g3009.

บทความเรื่อง Comparative Effectiveness of Long Term Drug Treatment Strategies to Prevent Asthma Exacerbations: Network Meta-Analysis รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบ systematic review และ network meta-analysis ด้วย Bayesian statistics เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของแนวทางการควบคุมและป้องกันการกำเริบของหอบหืด

ข้อมูลในการศึกษาได้จากฐานข้อมูลบททบทวนงานวิจัยโรคหอบหืดเรื้อรังของ Cochrane ร่วมกับการสืบค้นเพิ่มเติม งานวิจัยที่นำมาศึกษาเป็นการศึกษาในผู้ใหญ่ซึ่งสุ่มให้ได้รับการรักษาควบคุมอาการอย่างน้อย 24 สัปดาห์และรายงานการกำเริบของหอบหืด โดยใช้ low dose inhaled corticosteroid เป็นตัวเปรียบเทียบ ผลลัพธ์หลักด้านประสิทธิภาพ ได้แก่ อัตราการกำเริบรุนแรง ผลลัพธ์รอง ได้แก่ ผลรวมของการกำเริบปานกลางและรุนแรง โดยประเมินการถอนตัวจากการศึกษาในฐานะผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย

นักวิจัยรวบรวมงานวิจัย 64 การศึกษา ซึ่งมีระยะการติดตาม 59,622 patient years และเปรียบเทียบแนวทางการรักษา 15 วิธีกับยาหลอก ในด้านการป้องกันการกำเริบรุนแรงพบว่า การรักษาด้วย inhaled corticosteroids ร่วมกับ long acting β agonists ในฐานะการรักษาเพื่อควบคุมและบรรเทาอาการ และ inhaled corticosteroids ร่วมกับ long acting β agonists แบบ fixed daily dose ให้ผลดีเท่ากัน และได้จัดอันดับเป็นตัวแรกสำหรับประสิทธิภาพ โดย rate ratios เปรียบเทียบกับ low dose inhaled corticosteroids เท่ากับ 0.44 (95% credible interval 0.29-0.66) และ 0.51 (0.35-0.77) นอกจากนี้พบว่า combined strategies อื่นไม่มีผลดีกว่า inhaled corticosteroids และการรักษาด้วยยาตัวเดียวทั้งหมดได้ผลน้อยกว่าการรักษาด้วย low dose inhaled corticosteroids ตัวเดียว ผลลัพธ์ด้านความปลอดภัยได้ผลดีที่สุดสำหรับการรักษาตามแนวปฏิบัติ และการรักษาเพื่อควบคุมและบรรเทาอาการด้วยยาสูตรผสม

แนวทางการรักษาด้วย low dose inhaled corticosteroids และ long acting β agonists มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยดีที่สุดสำหรับป้องกันหอบหืดกำเริบรุนแรง แม้พบความแตกต่างของงานวิจัยใน network meta-analysis