ผลตรวจคัดกรองและปรับการดำเนินชีวิตต่ออุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ผลตรวจคัดกรองและปรับการดำเนินชีวิตต่ออุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

BMJ 2014;348:g3617.

บทความเรื่อง Effect of Screening and Lifestyle Counselling on Incidence of Ischaemic Heart Disease in General Population: Inter99 Randomised Trial รายงานข้อมูลจากงานวิจัยแบบ randomised controlled community based trial ในเดนมาร์ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และการให้คำปรึกษาด้านรูปแบบการดำเนินชีวิตต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในระยะ 10 ปีที่ระดับประชากร

นักวิจัยสุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยอายุระหว่าง 30-60 ปี จำนวน 59,616 คน เป็นกลุ่มทดลอง (n = 11,629) และกลุ่มควบคุม (n = 47,987) โดยกลุ่มทดลองได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง และให้คำปรึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตรวม 4 ครั้งในระยะเวลา 5 ปี ผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นผลร้ายต่อสุขภาพได้รับคำปรึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตที่ปรับเฉพาะบุคคลในทุก visit (ที่พื้นฐาน หลังปีแรก และปีที่ 3) ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มอีก 6 ครั้ง เพื่อให้คำแนะนำการเลิกสูบบุหรี่ อาหาร และการออกกำลังกาย และผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมดได้เข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาครั้งสุดท้ายหลังจาก 5 ปี ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับการส่งต่อไปยังแพทย์ทั่วไปหากจำเป็นต้องได้รับการรักษา และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการตรวจคัดกรอง

ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในกลุ่มทดลองเทียบกับกลุ่มควบคุม และผลลัพธ์รอง ได้แก่ สโตรค, combined events (โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สโตรค หรือทั้งสองอย่าง) และการตาย

มีผู้เข้าร่วมวิจัย 6,091 คน (52.4%) ในกลุ่มทดลองเข้าร่วมที่พื้นฐานจาก 5,978 คน ซึ่งสามารถติดตามที่ 5 ปี (เสียชีวิต 59 คน และอพยพ 54 คน) พบว่ามีผู้เข้าร่วม 4,028 คน (67.4%) และมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 3,163 คนจากการติดตามที่ 10 ปี จากการศึกษาพบผู้ที่เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 2,782 คน จาก 58,308 คน ซึ่งไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่พื้นฐาน และพบผู้ที่เป็นสโตรค 1,726 คน จาก 58,940 คน ซึ่งไม่มีประวัติสโตรคที่พื้นฐาน จากการศึกษาไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในด้าน primary endpoint (hazard ratio for ischaemic heart disease 1.03, 95% confidence interval 0.94-1.13) หรือ secondary endpoints (stroke 0.98, 0.87-1.11; combined endpoint 1.01, 0.93-1.09; total mortality 1.00, 0.91-1.09)

โปรแกรมแทรกแซงเป็นรายบุคคลด้วยการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตในระยะเวลา 5 ปีไม่มีผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สโตรค หรือการตายในระดับประชากรภายหลัง 10 ปี