อาหารโปรตีนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านม
BMJ 2014;348:g3437.
บทความเรื่อง Dietary Protein Sources in Early Adulthood and Breast Cancer Incidence: Prospective Cohort Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบ prospective cohort study จากบุคลากรทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างอาหารแหล่งโปรตีนที่รับประทานในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม
ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นหญิงวัยทอง 88,803 คน ในการศึกษา Nurses’ Health Study II ซึ่งได้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหารในปี ค.ศ. 1991 มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมที่รายงานเองและยืนยันจากผลตรวจทางพยาธิวิทยา
มีรายงานโรคมะเร็งเต้านม 2,830 ราย ระหว่างการติดตามเป็นระยะเวลา 20 ปี การรับประทานเนื้อแดงในปริมาณมากขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมโดยรวม (relative risk 1.22, 95% confidence interval 1.06-1.40; Ptrend = 0.01, for highest fifth vs lowest fifth of intake) ขณะที่การรับประทานสัตว์ปีก ปลา ไข่ ถั่วเปลือกอ่อน และถั่วเปลือกแข็ง ไม่สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านมโดยรวม เมื่อประเมินความสัมพันธ์ตามสถานะประจำเดือนพบว่า การรับประทานสัตว์ปีกมากขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อมะเร็งเต้านมในหญิงวัยทอง (0.73, 0.58-0.91; Ptrend = 0.02, for highest fifth vs lowest fifth of intake) แต่ไม่รวมถึงหญิงก่อนวัยทอง (0.93, 0.78-1.11; Ptrend = 0.60, for highest fifth vs lowest fifth of intake) จากการประเมินผลของการเปลี่ยนอาหารแหล่งโปรตีนพบว่า การรับประทานถั่วเปลือกอ่อนหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน ทดแทนเนื้อแดงหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน สัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่ต่ำลง 15% ในผู้หญิงทั้งหมด (0.85, 0.73-0.98) และต่ำลง 19% ในหญิงก่อนวัยทอง (0.81, 0.66-0.99) และการรับประทานสัตว์ปีกหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน ทดแทนเนื้อแดงหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลง 17% ต่อมะเร็งเต้านมโดยรวม (0.83, 0.72-0.96) และต่ำลง 24% สำหรับมะเร็งเต้านมในวัยทอง cancer (0.76, 0.59-0.99) นอกจากนี้การทดแทนเนื้อแดงหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน ด้วยถั่วเปลือกอ่อน ถั่วเปลือกแข็ง สัตว์ปีก และปลารวมกันหนึ่งหน่วยบริโภค/วัน สัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลง 14% ต่อมะเร็งเต้านมโดยรวม (0.86, 0.78-0.94) และมะเร็งเต้านมก่อนวัยทอง (0.86, 0.76-0.98)
การรับประทานเนื้อแดงบ่อยในช่วงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม และการทดแทนเนื้อแดงด้วยถั่วเปลือกอ่อน สัตว์ปีก ถั่วเปลือกแข็ง และปลาอาจลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมได้