เบาหวานในฐานะปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้หญิง

เบาหวานในฐานะปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมในผู้หญิง

The Lancet. 2014;383(9933):1973-1980.

บทความเรื่อง Diabetes as a Risk Factor for Stroke in Women Compared with Men: A Systematic Review and Meta-Analysis of 64 Cohorts, Including 775,385 Individuals and 12,539 Strokes รายงานว่า โรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการในผู้ป่วยทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักต่อสโตรค แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าเพศมีผลต่อความแตกต่างด้านความเสี่ยงสโตรคจากเบาหวานหรือไม่

นักวิจัยจึงดำเนินการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis เพื่อประเมินผลของเบาหวานต่อความเสี่ยงสโตรคเปรียบเทียบระหว่างหญิงและชาย โดยสืบค้นงานวิจัยแบบ prospective, population-based cohort studies จากฐานข้อมูล PubMed ซึ่งตีพิมพ์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1966 ถึงวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2013 และคัดเลือกจากงานวิจัยที่รายงานค่า relative risk (RR) จำเพาะตามเพศสำหรับสโตรคจากเบาหวาน นักวิจัยรวมค่า RRs จำเพาะตามเพศและอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างผู้หญิงและผู้ชายใน random-effects meta-analysis ซึ่งถ่วงน้ำหนักด้วยส่วนกลับของความแปรปรวน

การวิเคราะห์ครอบคลุมข้อมูลจาก cohort study 64 การศึกษา รวมผู้เข้าร่วมวิจัย 775,385 คน และพบ fatal และ non-fatal stroke 12,539 ราย ค่า pooled maximum-adjusted RR ของสโตรคจากเบาหวานเท่ากับ 2.28 (95% CI 1.93-2.69) ในผู้หญิง และ 1.83 (1.60-2.08) ในผู้ชาย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายที่เป็นเบาหวานพบว่า ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อสโตรคสูงกว่า กล่าวคือ มี pooled ratio ของ RRs เท่ากับ 1.27 (1.10-1.46; I2 = 0%) โดยไม่ปรากฏว่ามีอคติจากแหล่งตีพิมพ์งานวิจัย และความแตกต่างระหว่างเพศนี้คงที่ในกลุ่มหลักของสโตรค ผู้เข้าร่วมวิจัย และรูปแบบการศึกษา

ความเสี่ยงสโตรคจากโรคเบาหวานสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญในผู้หญิงเทียบกับผู้ชาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างด้านเพศในปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่น ข้อมูลนี้สนับสนุนว่าผู้ชายและผู้หญิงได้รับผลกระทบจากความเจ็บป่วยอันเป็นผลจากเบาหวานแตกต่างกัน และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อระบุกลไกที่เกี่ยวข้องทั้งด้านชีววิทยา พฤติกรรม หรือสังคม