นมสูตรผ่านการย่อย และ β-Cell Autoimmunity
JAMA. 2014;311(22):2279-2287.
บทความเรื่อง Hydrolyzed Infant Formula and Early β-Cell Autoimmunity: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า กระบวนการที่นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักเริ่มต้นตั้งแต่วัยเด็กอ่อน การได้รับอาหารโปรตีนเชิงซ้อนอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ β-cell autoimmunity ในเด็กที่มีพันธุกรรมเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ขณะที่นมผงทารกสูตรผ่านการย่อยอย่างเต็มที่ไม่มีส่วนประกอบของโปรตีนเต็มโมเลกุล
นักวิจัยศึกษาผลลัพธ์ของนมผงสูตรผ่านการย่อยอย่างเต็มที่ต่อการลดอุบัติการณ์สะสมของ autoantibodies จากเบาหวานในเด็กเล็ก โดยศึกษาจากทารก 2,159 คนที่ไวต่อการเกิดโรคจากกลุ่มยีน HLA และมีญาติลำดับที่หนึ่งเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระหว่างเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ใน 15 ประเทศ นักวิจัยสุ่มให้เด็ก 1,078 คนได้รับนม casein hydrolysate และ 1,081 คนได้รับนมผงสูตรนมวัวทั่วไปและเสริมด้วย casein hydrolysate 20% โดยติดตามจนถึงวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2013
ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ ผลบวกต่อ autoantibodies จากเบาหวานอย่างน้อย 2 ตัว โดยวิเคราะห์ autoantibodies ต่ออินซูลิน, glutamic acid decarboxylase และ insulinoma-associated-2 (IA-2) molecule ด้วย radiobinding assays และ islet cell antibodies ร่วมกับ immunofluorescence ระหว่างมัธยฐานการติดตาม 7.0 ปี (มัธยฐาน 6.3 ปี)
ค่า absolute risk ของผลบวกต่อ islet autoantibodies 2 ตัวหรือมากกว่าเท่ากับ 13.4% ในเด็กที่ได้รับนมสูตรย่อยโปรตีน (n = 139) vs 11.4% ในเด็กที่ได้รับนมวัวทั่วไป (n = 117) ค่า hazard ratio ที่ยังไม่ได้ปรับสำหรับการมีผลบวกต่อ islet autoantibodies 2 ตัวหรือมากกว่าในกลุ่มที่สุ่มให้ได้รับ casein hydrolysate เท่ากับ 1.21 (95% CI 0.94-1.54) เทียบกับกลุ่มที่ได้รับนมวัว ขณะที่ hazard ratio ที่ปรับแล้วสำหรับความเสี่ยง HLA ระยะการให้นมแม่ การใช้วิตามินดี ระยะการให้นมสูตรที่ศึกษาและการกินนม และภูมิภาคเท่ากับ 1.23 (95% CI 0.96-1.58) และพบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางคลินิกด้านอัตราการรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระหว่างทั้งสองกลุ่ม
ข้อมูลจากการศึกษาในทารกที่เสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ชี้ว่า การใช้นมสูตรผ่านการย่อยไม่ได้ลดอุบัติการณ์ของ autoantibodies จากเบาหวานภายหลัง 7 ปี เทียบกับนมผงสูตรทั่วไป