การให้ยาละลายลิ่มเลือดสำหรับลิ่มเลือดอุดตันในปอด ต่อความเสี่ยงการตายทุกสาเหตุ เลือดออก และเลือดออกในสมอง

การให้ยาละลายลิ่มเลือดสำหรับลิ่มเลือดอุดตันในปอด
ต่อความเสี่ยงการตายทุกสาเหตุ เลือดออก และเลือดออกในสมอง

JAMA. 2014;311(23):2414-2421.

บทความเรื่อง Thrombolysis for Pulmonary Embolism and Risk of All-Cause Mortality, Major Bleeding, and Intracranial Hemorrhage: A Meta-analysis รายงานว่า การให้ยาละลายลิ่มเลือดอาจมีประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดบางคน และปัจจุบันยังไม่มีการวิเคราะห์ใดที่มีอำนาจทางสถิติเพียงพอสำหรับประเมินว่าการให้ยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับการรอดชีวิตที่ดีขึ้นเทียบกับการให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด

นักวิจัยศึกษาประโยชน์ด้านการรอดชีวิตและความเสี่ยงเลือดออกจากการให้ยาละลายลิ่มเลือดเทียบกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดในภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดฉับพลัน รวมถึงกลุ่มย่อยของผู้ป่วยที่การไหลเวียนเลือดยังคงเป็นปกติและมีการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาผิดปกติ (ความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดปานกลาง)

การศึกษาใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล PubMed, Cochrane Library, EMBASE, EBSCO, Web of Science และ CINAHL databases ตั้งแต่เริ่มจัดทำจนถึงวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2014 งานวิจัยที่นำมาศึกษาเป็นการศึกษาเปรียบเทียบการให้ยาละลายลิ่มเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือดในผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด โดยมีงานวิจัยที่สอดคล้องกับเกณฑ์การศึกษา 16 ฉบับ รวมผู้เข้าร่วมวิจัย 2,115 คน โดยงานวิจัย 8 ฉบับ (ผู้ป่วย 1,775 คน) ได้ศึกษาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดปานกลาง ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและเลือดออกรุนแรง ผลลัพธ์รอง ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเป็นซ้ำและเลือดออกในสมอง ทั้งนี้คำนวณค่า Peto odds ratio (OR) estimates และ 95% CIs ด้วยตัวแบบ fixed-effects model

การใช้ยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับการลดลงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (OR 0.53; 95% CI 0.32-0.88; 2.17% [23/1,061] vs 3.89% [41/1,054] with anticoagulants; number needed to treat [NNT] = 59) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อเลือดออกรุนแรง (OR 2.73; 95% CI 1.91-3.91; 9.24% [98/1,061] vs 3.42% [36/1,054]; number needed to harm [NNH] = 18) and ICH (OR 4.63; 95% CI 1.78-12.04; 1.46% [15/1,024] vs 0.19% [2/1,019]; NNH = 78) ภาวะเลือดออกรุนแรงไม่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในผู้ป่วยอายุ 65 ปีหรือน้อยกว่า (OR 1.25; 95% CI 0.50-3.14) และการให้ยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเป็นซ้ำ (OR 0.40; 95% CI 0.22-0.74; 1.17% [12/1,024] vs 3.04% [31/1,019]; NNT = 54) ขณะที่จากการศึกษาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดปานกลางพบว่า การให้ยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำลง (OR 0.48; 95% CI 0.25-0.92) และการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงที่สูงขึ้น (OR 3.19; 95% CI 2.07-4.92)

ข้อมูลการศึกษาในผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด รวมถึงผู้ที่มีการไหลเวียนเลือดคงที่และมีการทำงานของหัวใจห้องล่างขวาเป็นปกติชี้ว่า การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดสัมพันธ์กับอัตราที่ต่ำลงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ และความเสี่ยงที่สูงขึ้นต่อเลือดออกรุนแรงและเลือดออกในสมอง อย่างไรก็ดี ข้อมูลนี้อาจไม่สามารถประยุกต์กับผู้ป่วยลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดซึ่งมีการไหลเวียนเลือดคงที่ และไม่มีความผิดปกติของหัวใจห้องล่างขวา