ตรวจเต้านมด้วยเอกซเรย์ 3 มิติร่วมกับเอกซเรย์ 2 มิติระบบดิจิตอล
JAMA. 2014;311(24):2499-2507.
บทความเรื่อง Breast Cancer Screening Using Tomosynthesis in Combination with Digital Mammography รายงานว่า การเอกซเรย์เต้านมมีบทบาทสำคัญในการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มเป็น โดยมีงานวิจัยหลายฉบับชี้ว่าการตรวจเอกซเรย์ระบบ 3 มิติร่วมกับการเอกซเรย์ 2 มิติ สามารถเพิ่มอัตราการตรวจพบมะเร็งและลดผลบวกหลอก
นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ของการเอกซเรย์เต้านม 2 มิติร่วมกับเอกซเรย์ 3 มิติ ต่อผลลัพธ์ในโครงการการตรวจมะเร็งเต้านมในสหรัฐอเมริกา โดยศึกษาแบบ retrospective analysis จากผลตรวจของโรงพยาบาล 13 แห่งด้วยตัวแบบ mixed models ซึ่งปรับตาม site ในฐานะ random effect การตรวจเต้านมแบ่งออกเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ตรวจเอกซเรย์ดิจิตอลที่ 1 ปี ก่อนตรวจเอกซเรย์ 3 มิติ (เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 ถึงตุลาคม ค.ศ. 2011) จนถึงเริ่มตรวจเอกซเรย์ 3 มิติ และระยะที่ 2 ตรวจเอกซเรย์ดิจิตอลร่วมกับตรวจเอกซเรย์ 3 มิตินับจากเริ่มการตรวจ 3 มิติ (มีนาคม ค.ศ. 2011 ถึงตุลาคม ค.ศ. 2012) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012
ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ อัตราการเรียกกลับมาตรวจซ้ำ อัตราการตรวจพบมะเร็ง และค่าพยากรณ์ผลบวกต่อการเรียกลับมาตรวจซ้ำและสำหรับการตัดชิ้นเนื้อ
นักวิจัยศึกษาจากการตรวจเต้านม 454,850 ครั้ง (n = 281,187 digital mammography; n = 173,663 digital mammography + tomosynthesis) จากการตรวจเอกซเรย์ดิจิตอลมีผู้ป่วยที่เรียกกลับมาตรวจซ้ำ 29,726 คน และจากการตัดชิ้นเนื้อ 5,056 คนพบมะเร็งในผู้ป่วย 1,207 คน (n = 815 invasive; n = 392 in situ) จากการเอกซเรย์ดิจิตอล + เอกซเรย์ 3 มิติพบผู้ป่วยที่เรียกกลับมาตรวจซ้ำ 15,541 คน และจากการตัดชิ้นเนื้อ 3,285 คน พบมะเร็งในผู้ป่วย 90 คน (n = 707 invasive; n = 243 in situ) อัตราปรับตามตัวแบบต่อการตรวจ 1,000 ครั้งมีผลลัพธ์ดังนี้ สำหรับอัตราการเรียกกลับมาตรวจซ้ำเท่ากับ 107 (95% CI 89-124) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล vs 91 (95% CI 73-108) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล + เอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ; difference -16 (95% CI -18 ถึง -14; p < 0.001) สำหรับอัตราการตัดชิ้นเนื้อเท่ากับ 18.1 (95% CI 15.4-20.8) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล vs 19.3 (95% CI 16.6-22.1) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล + เอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ; difference 1.3 (95% CI 0.4-2.1; p = 0.004) สำหรับการตรวจพบมะเร็งเท่ากับ 4.2 (95% CI 3.8-4.7) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล vs 5.4 (95% CI 4.9-6.0) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล + เอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ; difference 1.2 (95% CI 0.8-1.6; p < 0.001) และสำหรับการตรวจพบมะเร็งลุกลามเท่ากับ 2.9 (95% CI 2.5-3.2) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล vs 4.1 (95% CI 3.7-4.5) จากเอกซเรย์เต้านมระบบดิจิตอล + เอกซเรย์เต้านมระบบ 3 มิติ; difference 1.2 (95% CI 0.8-1.6; p < 0.001) อัตราการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรกเท่ากับ 1.4 (95% CI 1.2-1.6) ต่อการตรวจ 1,000 ครั้งจากทั้งสองวิธี นอกจากนี้การตรวจระบบ 3 มิติร่วมกับการตรวจระบบดิจิตอลสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของค่าพยากรณ์ผลบวกสำหรับการเรียกกลับมาตรวจซ้ำจาก 4.3% เป็น 6.4% (difference 2.1%; 95% CI 1.7%-2.5%; p < 0.001) และสำหรับการตัดชิ้นเนื้อจาก 24.2% เป็น 29.2% (difference 5.0%; 95% CI 3.0%-7.0%; p < 0.001)
การตรวจเอกซเรย์ระบบ 3 มิติร่วมกับระบบดิจิตอลสัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการเรียกกลับมาตรวจซ้ำและการเพิ่มขึ้นของอัตราการตรวจพบมะเร็ง จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อประเมินความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางคลินิก