Atrial Fibrillation ในสโตรคไม่ทราบสาเหตุ
N Engl J Med 2014;370:2467-2477.
บทความเรื่อง Atrial Fibrillation in Patients with Cryptogenic Stroke รายงานว่า การตรวจพบและรักษา atrial fibrillation โดยเร็วมีความสำคัญอย่างยิ่งตามที่ atrial fibrillation เป็นสาเหตุหลักที่สามารถป้องกันได้ของการเป็นซ้ำของสโตรค อย่างไรก็ดี atrial fibrillation ที่เกิดโดยฉับพลันมักไม่มีอาการแสดง รวมถึงมักตรวจไม่พบและไม่ได้รับการรักษาในผู้ป่วย ischemic stroke หรือ transient ischemic attack (TIA)
นักวิจัยสุ่มให้ผู้ป่วย 572 คนซึ่งมีอายุ 55 ปีหรือมากกว่า ไม่มี atrial fibrillation มี ischemic stroke หรือ TIA ไม่ทราบสาเหตุภายใน 6 เดือนก่อน (ไม่พบสาเหตุจากการตรวจมาตรฐาน รวมถึง 24-hour electrocardiography [ECG]) ให้ตรวจ ambulatory ECG เป็นระยะ 30 วัน (กลุ่มทดลอง) หรือ 24 ชั่วโมง (กลุ่มควบคุม) ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การตรวจพบ atrial fibrillation ที่นาน 30 วินาที หรือนานกว่าภายใน 90 วันหลังการสุ่ม ผลลัพธ์รอง ได้แก่ การเกิดเหตุการณ์ของ atrial fibrillation ที่นาน 2.5 นาทีหรือนานกว่า และการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ 90 วัน
จากการศึกษาพบ atrial fibrillation ที่นาน 30 วินาทีหรือนานกว่าในผู้ป่วย 45 คนจาก 280 คน (16.1%) ในกลุ่มทดลองเทียบกับ 9 คนจาก 277 คน (3.2%) ในกลุ่มควบคุม (absolute difference 12.9 percentage points; 95% CI 8.0-17.6; p < 0.001; number needed to screen 8) และพบ atrial fibrillation ที่นาน 2.5 นาทีหรือนานกว่าในผู้ป่วย 28 คนจาก 284 คน (9.9%) ในกลุมทดลองเทียบกับ 7 คนจาก 277 คน (2.5%) ในกลุ่มควบคุม (absolute difference 7.4 percentage points; 95% CI 3.4-11.3; p < 0.001) และที่ 90 วันพบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดมากกว่าในกลุ่มทดลองเทียบกับกลุ่มควบคุม (52 จาก 280 คน [18.6%] vs 31 จาก 279 คน [11.1%]; absolute difference 7.5 percentage points; 95% CI 1.6-13.3; p = 0.01)
ภาวะ atrial fibrillation ฉับพลันพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่เกิดสโตรคหรือ TIA ไม่ทราบสาเหตุซึ่งมีอายุ 55 ปีหรือมากกว่า ซึ่งการตรวจ ambulatory ECG ที่ 30 วันช่วยให้อัตราการตรวจพบ atrial fibrillation สูงขึ้นถึง 5 เท่าและเพิ่มอัตราการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดเกือบเท่าตัวเทียบกับเวชปฏิบัติมาตรฐานซึ่งตรวจ ECG ระยะสั้น