พยากรณ์ความเสี่ยงกระดูกหักหลังหยุด Alendronate แล้ว 4-5 ปี

พยากรณ์ความเสี่ยงกระดูกหักหลังหยุด Alendronate แล้ว 4-5 ปี

JAMA Intern Med. 2014;174(7):1126-1134.

บทความเรื่อง Fracture Prediction after Discontinuation of 4 to 5 Years of Alendronate Therapy : The FLEX Study รายงานว่า การหยุดยา bisphosphonate หลัง 3-5 ปี เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนสำหรับการติดตามความเสี่ยงกระดูกแตกหักหลังการหยุดยา นักวิจัยจึงได้ทดสอบแนวทางการพยากรณ์ความเสี่ยงกระดูกแตกหักในผู้หญิงที่หยุดยา alendronate หลัง 4-5 ปีในการศึกษา Fracture Intervention Trial Long-term Extension (FLEX) โดยสุ่มให้ผู้หญิงวัยทองอายุ 61-86 ปี และเคยรักษาด้วย alendronate มาแล้ว 4-5 ปี ได้รับการรักษาต่อด้วย alendronate หรือยาหลอกอีก 5 ปี จากปี ค.ศ. 1998-2003 โดยวิเคราะห์ล่าสุดเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก การประเมินผล dual-energy x-ray absorptiometry (DXA) ของกระดูกสะโพกและสันหลังทำเมื่อเริ่มให้ยาหลอก (พื้นฐานของการศึกษา FLEX) และหลังการติดตาม 1-3 ปี ตัวบ่งชี้ด้านชีวเคมีของการหมุนเวียนของกระดูก, urinary type 1 collagen cross-linked N-telopeptide (NTX) และ serum bone-specific alkaline phosphatase (BAP) วัดที่ระยะพื้นฐานและภายหลัง 1 และ 3 ปี

ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ spine และ non-spine fractures แบบมีอาการที่เกิดหลังการติดตาม DXA หรือการหมุนเวียนกระดูก

ระหว่างการรักษาด้วยยาหลอกเป็นระยะเวลา 5 ปี มีผู้หญิง 94 คนจาก 734 คน (22%) เกิด symptomatic fracture 1 ครั้งหรือมากกว่า โดย 82 คนมีกระดูกแตกหักหลัง 1 ปี การเปลี่ยนแปลงที่ 1 ปีของ DXA, NTX และ BAP ของสะโพกไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงกระดูกหักภายหลัง แต่อายุที่มากขึ้นและ DXA ของสะโพกส่วนล่างเมื่อหยุดยาสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงกระดูกแตกหักที่สูงขึ้น (lowest tertile of baseline femoral neck DXA vs other 2 tertiles relative hazard ratio, 2.17 [95% CI 1.38-3.41]; total hip DXA relative hazard ratio, 1.87 [95% CI 1.20-2.92])

การศึกษาในหญิงวัยทองที่หยุดยา alendronate หลัง 4-5 ปี ชี้ว่า อายุและ BMD ของสะโพกขณะหยุดยาพยากรณ์กระดูกหักในช่วง 5 ปีหลังหยุดยา ขณะที่การติดตามประเมิน DXA ที่ 1 ปีหลังหยุดยา และ BAP หรือ NTX ที่ 1-2 ปีหลังหยุดยาไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงกระดูกหักและไม่แนะนำ