ω-3 PUFAs และความเสี่ยง ALS

ω-3 PUFAs และความเสี่ยง ALS

JAMA Neurol. Published online July 14, 2014.

บทความเรื่อง Dietary ω-3 Polyunsaturated Fatty Acid Intake and Risk for Amyotrophic Lateral Sclerosis รายงานว่า โรค amyotrophic lateral sclerosis (ALS) เป็นโรคที่สามารถกำเริบรุนแรงขึ้นโดยไม่มีทางป้องกันหรือรักษา ขณะที่กรดไขมันชนิด long-chain polyunsaturated fatty acids (PUFAs) ที่ได้จากอาหารเป็นส่วนประกอบของไขมันในสมองและปรับกระบวนการออกซิเดชันและการอักเสบ ซึ่งอาจมีผลต่อความเสี่ยงและการกำเริบของ ALS

นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกรดไขมัน ω-6 และ ω-3 PUFA และความเสี่ยง ALS จากผู้เข้าร่วมวิจัย 1,002,082 คน (ผู้หญิง 479,114 คน และชาย 522,968 คน) จาก 5 การศึกษา ได้แก่ การศึกษา National Institutes of Health-AARP Diet and Health Study, การศึกษา Cancer Prevention Study II Nutrition Cohort, การศึกษา Health Professionals Follow-up Study, การศึกษา Multiethnic Cohort Study และการศึกษาNurses’ Health Study การประเมินอาการพิจารณาแบบสอบถามซึ่งพัฒนาหรือปรับสำหรับแต่ละการศึกษา และจำแนกผู้เข้าร่วมวิจัยตามquintile ของการบริโภคโดยจำเพาะตามการศึกษา ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ risk ratios (RRs) ปรับพหุตัวแปรจำเพาะตามการศึกษาของอุบัติการณ์หรือการเสียชีวิตจาก ALS โดยประเมินด้วยวิธี Cox proportional hazards regression และรวมผลด้วย random-effects methods

มีรายงานผู้ป่วย ALS 995 คนระหว่างการติดตาม โดยพบว่าการบริโภค ω-3 PUFA ที่มากขึ้นสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ต่ำลงต่อ ALS และค่า RR รวมสำหรับ quintile สูงสุดถึงต่ำสุดเท่ากับ 0.66 (95% CI 0.53-0.81; p < 0.001 for trend) ซึ่งการบริโภค a-linolenic acid (RR 0.73; 95% CI 0.59-0.89; p = 0.003 for trend) และ ω-3 PUFAs จากอาหารทะเล (RR 0.84; 95% CI 0.65-1.08; p = 0.03 for trend) สัมพันธ์กับความสัมพันธ์แบบกลับดังกล่าว ขณะที่การบริโภค ω-6 PUFA ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยง ALS

การบริโภคอาหารที่อุดมด้วย ω-3 PUFA อาจช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดอาการของ ALS ได้