Atrial Fibrillation ระหว่างผ่าตัด และความเสี่ยง Ischemic Stroke ระยะยาว

Atrial Fibrillation ระหว่างผ่าตัด และความเสี่ยง Ischemic Stroke ระยะยาว

JAMA. 2014;312(6):616-622.

บทความเรื่อง Perioperative Atrial Fibrillation and the Long-term Risk of Ischemic Stroke รายงานว่า ภาวะ atrial fibrillation ส่งผลให้ความเสี่ยง ischemic stroke สูงขึ้น ขณะที่มองกันว่า atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัดเป็นการตอบสนองชั่วคราวต่อความเครียดด้านร่างกายและความเสี่ยงระยะยาวต่อสโตรคหลังเกิด atrial fibrillation ก็ยังคงไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด

นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัดและความเสี่ยงระยะยาวต่อสโตรค โดยศึกษาแบบ retrospective cohort study จากข้อมูลผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเนื่องจากผ่าตัดและยังคงมีชีวิตอยู่เมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล และไม่เป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือมี atrial fibrillation มาก่อนระหว่างปี ค.ศ. 2007-2011 ทั้งนี้นักวิจัยได้วิเคราะห์ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแยกจากผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเนื่องจากโรคอื่น

การระบุ ischemic strokes หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลประเมินด้วยรหัสการวินิจฉัย โดยตัวแปรทำนายคือ atrial fibrillation ที่เพิ่งตรวจพบระหว่างการรักษาประเมินตามรหัส present-on-admission codes และคัดผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษายังแผนกฉุกเฉินหรือนอนโรงพยาบาลที่มีประวัติ atrial fibrillation ออกจากการศึกษา

จากผู้ป่วย 1,729,360 คน พบว่า 24,711 คน (1.43%; 95% CI 1.41%-1.45%) เกิด atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัด และ 13,952 คน (0.81%; 95% CI 0.79%-0.82%) เกิดสโตรคหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ที่ 1 ปีหลังการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากผ่าตัดหัวใจพบว่า อัตราสะสมของสโตรคเท่ากับ 0.99% (95% CI 0.81%-1.20%) ในผู้ที่เป็น atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัด และ 0.83% (95% CI 0.76%-0.91%) ในผู้ที่ไม่เป็น atrial fibrillation ที่ 1 ปีหลังการนอนโรงพยาบาลเนื่องจากการผ่าตัดอื่นที่ไม่ใช่หัวใจพบว่า อัตราสะสมของสโตรคเท่ากับ 1.47% (95% CI 1.24%-1.75%) ในผู้ที่เป็น atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัดและ 0.36% (95% CI 0.35%-0.37%) ในผู้ที่ไม่เป็น atrial fibrillation ผลจากการวิเคราะห์ Cox proportional hazards analysis ที่ควบคุมตัวแปรรบกวนที่มีศักยภาพพบว่า atrial fibrillation ระหว่างผ่าตัดสัมพันธ์กับการเกิดสโตรคทั้งภายหลังการผ่าตัดหัวใจ (hazard ratio 1.3; 95% CI 1.1-1.6) และการผ่าตัดอื่นนอกเหนือจากหัวใจ (hazard ratio 2.0; 95% CI 1.7-2.3) โดยมีความสัมพันธ์ชัดเจนกว่าอย่างมีนัยสำคัญสำหรับ atrial fibrillation ระหว่างการผ่าตัดภายหลังการผ่าตัดอื่นนอกเหนือจากหัวใจเทียบกับการผ่าตัดหัวใจ (p < 0.001 for interaction)

ข้อมูลจากการศึกษาในผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลจากการผ่าตัดพบว่า atrial fibrillation ระหว่างการผ่าตัดสัมพันธ์กับความเสี่ยงระยะยาวที่สูงขึ้นต่อ ischemic stroke โดยเฉพาะภายหลังการผ่าตัดอื่นนอกเหนือจากหัวใจ