วิตามินดีและความดันเลือดแดงต่อความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

วิตามินดีและความดันเลือดแดงต่อความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

The Lancet Diabetes Endocrinol. 2014;2(9):719-729.

บทความเรื่อง Association of Vitamin D Status with Arterial Blood Pressure and Hypertension Risk: A Mendelian Randomisation Study รายงานว่า ระดับ plasma 25-hydroxyvitamin D (25[OH]D) ที่ต่ำสัมพันธ์กับความดันเลือดแดงที่สูงและความเสี่ยงความดันโลหิตสูง แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์เชิงเหตุหรือไม่

นักวิจัยใช้วิธี mendelian randomisation approach ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุระหว่างระดับ 25(OH)D กับความดันโลหิตและความเสี่ยงความดันโลหิตสูง โดยหาคะแนน allele score (25[OH]D synthesis score) ตามความแปรปรวนของยีนที่ส่งผลต่อ 25(OH)D synthesis หรือ substrate availability (CYP2R1 and DHCR7) ซึ่งใช้แทน 25(OH)D concentration และวิเคราะห์ meta-analysis จากกลุ่มตัวอย่าง 108,173 คนจากงานวิจัย 35 ฉบับในฐานข้อมูล D-CarDia เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง allele score และค่าความดันโลหิต โดยประเมินร่วมกับข้อมูลสถิติที่ตีพิมพ์ก่อนหน้านี้จาก International Consortium on Blood Pressure (ICBP), Cohorts for Heart and Aging Research in Genomic Epidemiology (CHARGE) และ Global Blood Pressure Genetics (Global BPGen)

ข้อมูลจาก phenotypic analyses (up to n = 49,363) พบว่า 25(OH)D concentration ที่สูงขึ้นสัมพันธ์กับความดันซิสโตลิกที่ลดลง (β per 10% increase, -0.12 mmHg, 95% CI -0.20 to -0.04; p = 0.003) และค่า odds ที่ต่ำลงต่อความดันโลหิตสูง (odds ratio [OR] 0.98, 95% CI 0.97-0.99; p = 0.0003) แต่ไม่สัมพันธ์กับการลดลงของความดันไดแอสโตลิก (β per 10% increase, -0.02 mmHg, -0.08 to 0.03; p = 0.37) จาก meta-analyses ซึ่งรวมข้อมูลจาก D-CarDia และ ICBP (n = 146,581 หลังตัดงานวิจัยที่ทับซ้อนกัน) พบว่า 25(OH)D synthesis score ที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งคะแนนสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ -0.10 mmHg ในความดันซิสโตลิก (-0.21 to -0.0001; p = 0.0498) และ -0.08 mmHg ในความดันไดแอสโตลิก (-0.15 to -0.02; p = 0.01) เมื่อวิเคราะห์ meta-analysis โดยรวมข้อมูลจาก D-CarDia และเครือข่ายงานวิจัยความดันโลหิตสูง (n = 142,255) พบว่า คะแนน synthesis score สัมพันธ์กับค่า odds ต่อความดันโลหิตสูงที่ลดลง (OR per allele, 0.98, 0.96-0.99; p = 0.001) และจาก instrumental variable analysis พบว่า genetically instrumented 25(OH)D concentration ที่เพิ่มขึ้นทุก 10% สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงเท่ากับ -0.29 mmHg ในความดันไดแอสโตลิก (-0.52 to -0.07; p = 0.01), -0.37 mmHg ในความดันซิสโตลิก (-0.73 to 0.003; p = 0.052) และค่า odds ของความดันโลหิตสูงที่ลดลง 8.1% (OR 0.92, 0.87-0.97; p = 0.002)

ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า 25(OH)D ที่เพิ่มขึ้นอาจลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมด้วยการศึกษาที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน