ฝังเข็มในปวดเข่าเรื้อรัง

ฝังเข็มในปวดเข่าเรื้อรัง

JAMA. 2014;312(13):1313-1322.

บทความเรื่อง Acupuncture for Chronic Knee Pain: A Randomized Clinical Trial รายงานว่า ปัจจุบันยังคงมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการฝังเข็มต่ออาการปวดเข่า นักวิจัยได้ศึกษาประสิทธิภาพของการฝังเข็มและฝังเข็มด้วยเลเซอร์ในอาสาสมัคร 282 คน ซึ่งมีอายุ ≥ 50 ปี และมีอาการปวดเข่าเรื้อรังในออสเตรเลีย ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างไม่ฝังเข็ม (กลุ่มควบคุม, n = 71) และฝังเข็ม (n = 70), ฝังเข็มเลเซอร์ (n = 71) และเลเซอร์เทียม (n = 70) โดยมีระยะเวลา 12 สัปดาห์

ผลลัพธ์ปฐมภูมิ ได้แก่ อาการปวดเข่า (คะแนนจาก 0 [ไม่ปวด] ถึง 10 [ปวดมากที่สุด]; minimal clinically important difference [MCID] 1.8 units) และการทำงานด้านร่างกาย (Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis Index 0 [ไม่มีปัญหา] ถึง 68 [มีปัญหามากที่สุด]; MCID 6 units) ที่ 12 สัปดาห์ ผลลัพธ์ทุติยภูมิ ได้แก่ มาตรวัดอาการปวดและการทำงานอื่น คุณภาพชีวิต การเปลี่ยนแปลงโดยรวม และการติดตามที่หนึ่งปี โดยวิเคราะห์แบบ intention-to-treat ด้วยวิธี multiple imputation สำหรับข้อมูลที่สูญหาย

ที่ 12 สัปดาห์ และหนึ่งปีพบว่า อาสาสมัคร 26 คน (9%) และ 50 คน (18%) ไม่สามารถติดตามได้ ผลการวิเคราะห์ชี้ว่า การฝังเข็มและฝังเข็มด้วยเลเซอร์ไม่ได้ฟื้นฟูอาการปวด (mean difference -0.4 units; 95% CI -1.2 ถึง 0.4 และ -0.1; 95% CI -0.9 ถึง 0.7 ตามลำดับ) หรือการทำงาน (-1.7; 95% CI -6.1 ถึง 2.6 และ 0.5; 95% CI -3.4 ถึง 4.4 ตามลำดับ) ได้อย่างมีนัยสำคัญเทียบกับการรักษาหลอกที่ 12 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มที่ฝังเข็มและฝังเข็มด้วยเลเซอร์มีอาการปวดดีขึ้นปานกลาง (-1.1; 95% CI -1.8 ถึง -0.4 และ -0.8; 95% CI -1.5 ถึง -0.1 ตามลำดับ) ที่ 12 สัปดาห์ แต่ไม่ดีกว่าที่หนึ่งปี การฝังเข็มช่วยให้การทำงานดีขึ้นปานกลางเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 12 สัปดาห์ (-3.9; 95% CI -7.7 ถึง -0.2) แต่ไม่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการฝังเข็มหลอก (-1.7; 95% CI -6.1 ถึง 2.6) และคงที่ถึงหนึ่งปี นอกจากนี้ไม่พบความแตกต่างด้านผลลัพธ์ทุติยภูมิส่วนใหญ่และไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

ข้อมูลจากการศึกษาในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปีที่มีอาการปวดเข่าเรื้อรังปานกลางหรือรุนแรงนี้ไม่พบว่าการฝังเข็มหรือการฝังเข็มด้วยเลเซอร์มีประโยชน์กว่าการฝังเข็มหลอกทั้งในแง่อาการปวดหรือการทำงาน จึงไม่สนับสนุนการฝังเข็มในผู้ป่วยกลุ่มนี้