Hemoglobin Threshold สำหรับให้เลือดใน Septic Shock
N Engl J Med 2014;371:1381-1391.
บทความเรื่องLower versus Higher Hemoglobin Threshold for Transfusion in Septic Shock รายงานว่า การให้เลือดมักทำในผู้ป่วยภาวะ septic shock แต่ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับประโยชน์และอันตรายของ hemoglobin threshold การให้เลือดที่ต่างกัน
นักวิจัยศึกษาแบบ multicenter, parallel-group trial โดยสุ่มให้ผู้ป่วยวิกฤติซึ่งมีภาวะ septic shock และ hemoglobin concentration เท่ากับ 9 g per deciliter หรือน้อยกว่าได้รับ 1 หน่วยของ leukoreduced red cells เมื่อระดับ hemoglobin ลดลงมาที่ 7 g per deciliter หรือน้อยกว่า (กลุ่ม lower threshold) หรือเมื่อเท่ากับ 9 g per deciliter หรือน้อยกว่า (กลุ่ม higher threshold) ระหว่างการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤติ โดยผลลัพธ์ปฐมภูมิ ได้แก่ การเสียชีวิตภายใน 90 วันหลังการสุ่ม
นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย 998 คนจาก 1,005 คน (99.3%) ที่เข้าร่วมการสุ่ม ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะที่พื้นฐานใกล้เคียงกัน โดยกลุ่ม lower threshold มีมัธยฐานของเลือดที่ได้รับ 1 หน่วย (interquartile range 0-3) และกลุ่ม higher threshold เท่ากับ 4 หน่วย (interquartile range 2-7) ที่ 90 วันหลังการสุ่มพบว่า ผู้ป่วย 216 คนจาก 502 คน (43.0%) ในกลุ่ม lower threshold เสียชีวิตเทียบกับ 223 คนจาก 496 คน (45.0%) ในกลุ่ม higher threshold (relative risk 0.94; 95% CI 0.78-1.09; p = 0.44) ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับการวิเคราะห์ที่ปรับสำหรับปัจจัยเสี่ยงที่พื้นฐานและการวิเคราะห์จาก analyses of the per-protocol populations และจำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะขาดเลือด มีอาการไม่พึงประสงค์รุนแรง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยุงชีพใกล้เคียงกันในทั้งสองกลุ่ม
ข้อมูลจากผู้ป่วยภาวะ septic shock ชี้ว่า การเสียชีวิตที่ 90 วัน และอัตราการเกิดภาวะขาดเลือดและการพยุงชีพใกล้เคียงกันในผู้ที่ได้รับการให้เลือดด้วย hemoglobin threshold ที่สูงกว่าและต่ำกว่า ซึ่งกลุ่มหลังมีอัตราการให้เลือดที่ต่ำกว่า