การรักษาเบาหวานอย่างเข้มงวดต่อ Albuminuria ในเบาหวานชนิดที่ 1

การรักษาเบาหวานอย่างเข้มงวดต่อ Albuminuria ในเบาหวานชนิดที่ 1

Lancet Diabetes Endocrinol. 2014;2(10):793-800.

บทความเรื่อง Effect of Intensive Diabetes Treatment on Albuminuria in Type 1 Diabetes: Long-Term Follow-Up of The Diabetes Control and Complications Trial and Epidemiology of Diabetes Interventions and Complications Study รายงานว่า การรักษาเบาหวานอย่างเข้มงวดลดความเสี่ยงต่อ albuminuria ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 แต่ยังไม่มีข้อมูลถึงผลลัพธ์ต่อความเสื่อมของไตในระยะยาว

นักวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์ระยะยาวของการรักษาเบาหวานอย่างเข้มงวดและการรักษามาตรฐานต่อการเกิด albuminuria โดยติดตามเป็นระยะเวลา 18 ปีหลังสิ้นสุดการศึกษา Diabetes Control and Complications Trial (DCCT) ระหว่างช่วงการศึกษา DCCT (ค.ศ. 1983-1993) มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 รวม 1,441 คนที่สุ่มให้ได้รับการรักษาเข้มงวด (เป้าระดับน้ำตาลใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุดเท่าที่ยังคงปลอดภัย) หรือการรักษามาตรฐาน (ป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและน้ำตาลในเลือดต่ำ) เมื่อสิ้นสุดการศึกษา DCCT แล้วผู้ป่วยทั้งหมดได้รับคำแนะนำการรักษาอย่างเข้มงวดและเข้าร่วมในงานวิจัย Epidemiology of Diabetes Interventions and Complications (EDIC) ค่าเฉลี่ย HbA1c ในการศึกษา EDIC ใกล้เคียงกันระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการรักษาต่างกันในช่วงการศึกษา DCCT อัตราการขับ albumin วัดที่ระยะทุก 2 ปีระหว่างการศึกษา EDIC โดย microalbuminuria ประเมินจากการขับ albumin 30 มิลลิกรัมต่อวันหรือมากกว่าจากนัด 2 ครั้งติดต่อกันและ macroalbuminuria ประเมินจากการขับ albumin 300 มิลลิกรัมต่อวันหรือมากกว่า และประเมิน glomerular filtration rate from จากระดับ serum creatinine ของแต่ละปีระหว่างการศึกษา DCCT และ EDIC

ระหว่าง 1-18 ปีของการศึกษา EDIC พบผู้ป่วย microalbuminuria ใหม่ 191 คน (71 คนในกลุ่มรักษาเข้มงวดระหว่างการศึกษา DCCT และ 120 คนในกลุ่มรักษามาตรฐานระหว่างการศึกษา DCCT; risk reduction 45%, 95% CI 26-59) และพบผู้ป่วย macroalbuminuria ใหม่ 117 คน (31 คนในกลุ่มรักษาเข้มงวด และ 86 คนในกลุ่มรักษามาตรฐาน; 61%, 41-74) ที่ 17-18 ปีของการศึกษา EDIC พบว่า ความชุกของอัตราการขับ albumin เท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อวันหรือมากกว่า เท่ากับ 18.4% ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเข้มงวดระหว่างการศึกษา DCCT เทียบกับ 24.9% ในกลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐาน (p = 0.02)ระหว่างปีที่ 1-18 ของการศึกษา EDIC พบผู้ป่วย 84 คนที่มี estimated glomerular filtration rate ต่ำกว่า 60 มิลลิกรัม/นาที/1.73 ตารางเมตร (31 คนในกลุ่มรักษาเข้มงวดและ 53 คนในกลุ่มรักษามาตรฐาน)

ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบว่า การรักษาเบาหวานอย่างเข้มงวดมีประโยชน์ต่อไตในระยะยาวและคงที่อย่างน้อย 18 ปีหลังการรักษา ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวน่าจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการบำบัดทดแทนไต