รักษาความดันโลหิตสูงหลังสโตรคฉับพลัน

รักษาความดันโลหิตสูงหลังสโตรคฉับพลัน

The Lancet. Early Online Publication. October 22, 2014.

บทความเรื่อง Efficacy of Nitric Oxide, with or without Continuing Antihypertensive Treatment, for Management of High Blood Pressure in Acute Stroke (ENOS): A Partial-Factorial Randomised Controlled Trial รายงานว่า ภาวะความดันโลหิตสูงสัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ไม่ดีหลังสโตรค อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อมูลว่าควรลดความดันโลหิตโดยเร็วหลังสโตรคหรือไม่ และควรรักษาต่อหรือหยุดยาลดความดันโลหิตหรือไม่

นักวิจัยประเมินผลลัพธ์ภายหลังสโตรคในผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตโดยสุ่มให้ผู้ป่วยที่รับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจาก ischaemic หรือ haemorrhagic stroke ฉับพลันและมีความดันซิสโตลิกสูงขึ้น (140-220 mmHg) ได้รับ glyceryl trinitrate ผ่านผิวหนัง (5 มก./วัน) เป็นเวลา 7 วัน โดยเริ่มให้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดสโตรค หรือไม่ได้รับ glyceryl trinitrate (กลุ่มควบคุม) และสุ่มให้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยาลดความดันโลหิตก่อนเกิดสโตรคได้รับยาต่อหรือหยุดยา ผลลัพธ์ปฐมภูมิ ได้แก่ การทำงานประเมินจาก Rankin Scale ซึ่งปรับปรุงแล้วที่ 90 วัน

นักวิจัยรวบรวมกลุ่มตัวอย่าง 4,011 คน ระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ถึงวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ค่าเฉลี่ยความดันโลหิตเท่ากับ 167 (SD 19) mmHg/90 (13) mmHg at baseline (median 26 h [16-37] after stroke onset) และลดลงอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 1 ในผู้ป่วย 2,000 คน ซึ่งได้รับ glyceryl trinitrate เทียบกับ 2,011 คนในกลุ่มควบคุม (difference -7.0 [95% CI -8.5 to -5.6] mmHg/-3.5 [-4.4 to -2.6] mmHg; both p < 0.0001) และวันที่ 7 ในผู้ป่วย 1,053 คนที่ได้รักษาด้วยยาลดความดันโลหิตต่อเทียบกับ 1,044 คนที่สุ่มให้หยุดยา (difference -9.5 [95% CI -11.8 to -7.2] mmHg/-5.0 [-6.4 to -3.7] mmHg; both p < 0.0001) ผลลัพธ์ด้านการทำงานที่ 90 วันไม่แตกต่างกัน โดย odds ratio (OR) ที่ปรับแล้วสำหรับผลลัพธ์ที่ไม่ดีจาก glyceryl trinitrate เทียบกับไม่ได้รับ glyceryl trinitrate เท่ากับ 1.01 (95% CI 0.91-1.13; p = 0.83) และจากการรักษาต่อด้วยยาลดความดันโลหิตเทียบกับหยุดยาเท่ากับ 1.05 (0.90-1.22; p = 0.55)

การรักษาด้วย glyceryl trinitrate ผ่านผิวหนังในผู้ป่วยสโตรคฉับพลันและมีความดันโลหิตสูงช่วยลดความดันโลหิต และมีความปลอดภัยที่ยอมรับได้แต่ไม่ได้ช่วยฟื้นฟูผลลัพธ์ด้านการทำงาน ข้อมูลจากการศึกษานี้ไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการให้ยาลดความดันโลหิตต่อในช่วงที่เพิ่งเกิดสโตรคฉับพลัน