การออกกำลังกายและอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น

การออกกำลังกายและอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น

JAMA Pediatr. Published online October 13, 2014.

บทความเรื่อง Exercise and Depressive Symptoms in Adolescents: A Longitudinal Cohort Study รายงานว่า การออกกำลังกายอาจมีประโยชน์ต่ออารมณ์เศร้า แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเป็นปัจจัยที่ช่วยป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นหรือไม่

นักวิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและอาการซึมเศร้าในระยะเวลา 3 ปีของช่วงวัยรุ่นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ถึงวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2010 จากกลุ่มตัวอย่างในสหราชอาณาจักรจำนวน 736 คน (mean [SD] age 14.5 years [6 months]) การติดตามมีระยะเวลาประมาณ 3 ปีหลังพื้นฐาน (การศึกษา ROOTS) ตัวแบบ Linear regression models และ binomial logistic regression models ทดสอบความสอดคล้องโดยใช้ physical activity energy expenditure (PAEE) และ moderate and vigorous physical activity (MVPA) เป็นตัวทำนายและใช้อาการซึมเศร้าเป็นตัวแปรผลลัพธ์

การออกกำลังกายที่พื้นฐานประเมินจากอัตราการเต้นของหัวใจและการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายโดยรวมประเมินจาก PAEE โดยรวม และระยะเวลาของ MVPA โดยจำแนกเป็นการออกกำลังกายในช่วงวันธรรมดาและวันหยุด กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้กรอกแบบสอบถาม Mood and Feelings Questionnaire ซึ่งวัดอาการซึมเศร้า และเข้าร่วมในการสัมภาษณ์ Schedule for Affective Disorders and Schizophrenia for School-Age Children-Present and Lifetime Version ที่พื้นฐานและ 3 ปีให้หลัง

อาการซึมเศร้าจากการติดตามที่ 3 ปี ไม่สามารถทำนายได้อย่างชัดเจนด้วยการออกกำลังกายที่พื้นฐานทั้ง MVPA วันหยุด (unstandardized β = 0.02; 95% CI -0.15 to 0.20; p = 0.79), MVPA วันธรรมดา (β = 0.00; 95% CI -0.17 to 0.17; p = 0.99), PAEE วันหยุด (β = 0.03; 95% CI -0.14 to 0.20; p = 0.75) และ PAEE วันธรรมดา (β = -0.03; 95% CI -0.20 to 0.14; p = 0.71) ซึ่งสอดคล้องกับภาวะซึมเศร้ารุนแรงที่ตรวจพบระหว่างการติดตามทั้ง MVPA วันหยุด (OR 1.37; 95% CI 0.76-2.48; p = 0.30), MVPA วันธรรมดา (OR 1.33; 95% CI 0.74-2.37; p = 0.34), PAEE วันหยุด (OR 1.19; 95% CI 0.67-2.10; p = 0.56) และ PAEE วันธรรมดา (OR 0.92; 95% CI 0.52-1.63; p = 0.78)

ข้อมูลจากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการออกกำลังกายและการเกิดอาการซึมเศร้า และไม่สนับสนุนสมมติฐานว่าการออกกำลังกายป้องกันการเกิดอาการซึมเศร้าในวัยรุ่น