เปรียบเทียบให้อาหารทางสายยางโดยเร็ว และอาหารกินทางปากในตับอ่อนอักเสบฉับพลัน
N Engl J Med 2014;371:1983-1993.
บทความเรื่อง Early versus On-Demand Nasoenteric Tube Feeding in Acute Pancreatitis รายงานว่า การให้อาหารทางสายสวนจมูกมักปฏิบัติในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบฉับพลันที่มีอาการรุนแรงเมื่อป้องกันการติดเชื้อ แต่ข้อมูลสำหรับสนับสนุนแนวทางดังกล่าวยังคงมีจำกัด
นักวิจัยศึกษาแบบ multicenter, randomized trial เปรียบเทียบการให้อาหารผ่านสายสวนจมูกโดยเร็วและอาหารกินทางปากที่ 72 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบฉับพลันซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อนตาม Acute Physiology and Chronic Health Evaluation II ที่ 8 คะแนนหรือสูงกว่า (จากคะแนน 0-71 โดยคะแนนที่สูงกว่าชี้ว่ามีโรคที่รุนแรงกว่า) Imrie หรือ Glasgow ที่ปรับแล้วที่เท่ากับ 3 คะแนนหรือสูงกว่า (จากคะแนน 0-8 โดยคะแนนที่สูงกว่าชี้ว่ามีโรคที่รุนแรงกว่า) หรือระดับ serum C-reactive protein ที่มากกว่า 150 mg per liter ผู้ป่วยได้รับการสุ่มให้ได้รับอาหารทางสายยางส่วนจมูกภายใน 24 ชั่วโมงหลังการสุ่ม (early group) หรืออาหารกินทางปากที่ 72 ชั่วโมงหลังเข้ารับการรักษา (on-demand group) โดยให้อาหารทางสายยางในกรณีไม่สามารถรับอาหารกินทางปากได้ จุดยุติปฐมภูมิ ได้แก่ ผลรวมของการติดเชื้อรุนแรง (infected pancreatic necrosis, bacteremia หรือ pneumonia) หรือการเสียชีวิตระหว่าง 6 เดือนของการติดตาม
การศึกษารวบรวมผู้ป่วย 208 คน จากโรงพยาบาล 19 แห่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีรายงานจุดยุติปฐมภูมิในผู้ป่วย 30 คน จาก 101 คน (30%) ในกลุ่ม early group และใน 28 คน จาก 104 คน (27%) ในกลุ่ม on-demand group (risk ratio 1.07; 95% CI 0.79-1.44; p = 0.76) โดยไม่พบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญระหว่างกลุ่ม early group และกลุ่ม on-demand group ด้านอัตราของการติดเชื้อรุนแรง (25% และ 26% respectively; p = 0.87) หรือการเสียชีวิต (11% และ 7% respectively; p = 0.33) และในกลุ่ม on-demand group พบว่า ผู้ป่วย 72 คน (69%) สามารถรับอาหารกินทางปากได้และไม่จำเป็นต้องให้อาหารทางสายยาง
ข้อมูลการศึกษานี้ไม่พบว่าการให้อาหารทางสายสวนจมูกโดยเร็วมีผลลัพธ์ดีกว่าในด้านลดอัตราการติดเชื้อหรือเสียชีวิตในผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบฉับพลันซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อนเทียบกับการให้อาหารกินทางปากภายหลัง 72 ชั่วโมง