อัตราตายระยะยาวหลังรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 เข้มงวด 7 ปี
JAMA. 2015;313(1):45-53.
บทความเรื่อง Association between 7 Years of Intensive Treatment of Type 1 Diabetes and Long-term Mortality รายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลลัพธ์ของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวดต่ออัตราตายในโรคเบาหวานชนิดที่ 1 นักวิจัยจึงได้ศึกษาความแตกต่างด้านอัตราตายระหว่างการควบคุมน้ำตาลอย่างเข้มงวดและการรักษามาตรฐานจากการติดตามระยะยาวในผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษา Diabetes Control and Complications Trial (DCCT)
หลังสิ้นสุดการศึกษา DCCT (ค.ศ. 1983-1993) กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการติดตามต่อในการศึกษา Epidemiology of Diabetes Control and Complications (EDIC) จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2012 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร 1,441 คนซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงและเป็นโรคเบาหวานมีอายุระหว่าง 13-39 ปีที่พื้นฐาน และเป็นโรคเบาหวานมาแล้ว 1-15 ปีโดยไม่เคยมีหรือเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดขนาดเล็ก และไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคอื่นซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ระหว่างช่วงการศึกษากลุ่มตัวอย่างได้รับการสุ่มเป็นกลุ่มรักษาอย่างเข้มงวด (n = 711) ซึ่งมีเป้าหมายลดระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากเท่าที่สุดเท่าที่ยังปลอดภัยหรือกลุ่มรักษามาตรฐาน (n = 730) ซึ่งมีเป้าหมายหลีกเลี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อสิ้นสุดการศึกษา DCCT หรือเฉลี่ยหลัง 6.5 ปีผู้ป่วยทั้งหมดได้รับคำแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลอย่างเข้มงวด ทั้งนี้อัตราตายรวมและอัตราตายจำเพาะโรคประเมินจากการติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนเป็นรายปี และประวัติตลอดการติดตามเฉลี่ย 27 ปี
ผู้ป่วยที่ยังคงมีชีวิตอยู่มีจำนวน 1,429 คน (99.2%) โดยพบผู้เสียชีวิต 107 ราย ซึ่ง 64 รายเป็นกลุ่มรักษามาตรฐาน และ 43 รายเป็นกลุ่มรักษาอย่างเข้มงวด ค่า absolute risk difference เท่ากับ -109 per 100,000 patient-years (95% CI -218 to -1) โดยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุต่ำกว่าในกลุ่มควบคุมน้ำตาลเข้มงวด (hazard ratio [HR] 0.67 [95% CI 0.46-0.99]; p = 0.045) สาเหตุหลักของการเสียชีวิต ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด (24 ราย; 22.4%), มะเร็ง (21 ราย; 19.6%), ภาวะแทรกซ้อนฉับพลันจากโรคเบาหวาน (19 ราย; 17.8%) และอุบัติเหตุหรือฆ่าตัวตาย (18 ราย; 16.8%) ระดับ HbA1c ที่สูงกว่าสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ (HR 1.56 [95% CI 1.35-1.81 per 10% relative increase in HbA1c]; p < 0.001) และการเกิด albuminuria (HR 2.20 [95% CI 1.46-3.31]; p < 0.001)
หลังจากการติดตาม 27 ปีในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบว่าการควบคุมโรคเบาหวานอย่างเข้มงวดเป็นเวลา 6.5 ปี สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับการรักษามาตรฐาน