เข้าโรงพยาบาลจากปอดอักเสบต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

เข้าโรงพยาบาลจากปอดอักเสบต่อความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

JAMA. 2015;313(3):264-274.

บทความเรื่อง Association between Hospitalization for Pneumonia and Subsequent Risk of Cardiovascular Disease รายงานว่า ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลังการติดเชื้อยังคงไม่มีข้อมูลชัดเจน นักวิจัยจึงศึกษาว่าการเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปอดอักเสบสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดทั้งในระยะสั้นและระยะยาวหรือไม่

การศึกษาใช้ข้อมูลจากการศึกษา Cardiovascular Health Study (CHS n = 5,888; enrollment age ≥ 65 years; enrollment period 1989-1994) และ Atherosclerosis Risk in Communities study (ARIC n = 15,792; enrollment age 45-64 years; enrollment period 1987-1989) โดยติดตามกลุ่มตัวอย่างถึงวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2010 และจับคู่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนที่เข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปอดอักเสบกับกลุ่มควบคุม 2 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบและกลุ่มควบคุมได้รับการติดตามโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นเวลากว่า 10 ปีหลังการจับคู่ นักวิจัยได้ประมาณ hazard ratios (HRs) สำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือดในแต่ละช่วงเวลาโดยปรับปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดที่ไม่มีอาการ โรคร่วม และความสามารถในการทำกิจกรรม โดยที่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย สโตรค และโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นผลลัพธ์หลัก)

จากผู้ป่วยปอดอักเสบ 591 คนในการศึกษา CHS พบว่า 206 คนเกิดเหตุการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดในช่วง 10 ปีหลังเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปอดอักเสบ โดยที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงสุดในช่วงปีแรก โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดขึ้นในผู้ป่วย 54 คน และกลุ่มควบคุม 6 คนในช่วง 30 วันแรก (HR 4.07; 95% CI 2.86-5.27) ในผู้ป่วย 11 คน และกลุ่มควบคุม 9 คน ระหว่าง 31 และ90 วัน (HR 2.94; 95% CI 2.18-3.70) และในผู้ป่วย 22 คน และกลุ่มควบคุม 55 คน ระหว่าง 91 วัน และ 1 ปี (HR 2.10; 95% CI 1.59-2.60) ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดที่สูงขึ้นยังต่อเนื่องไปถึงปีที่ 11 โดยพบโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วย 4 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน (HR 1.86; 95% CI 1.18-2.55) จากการศึกษา ARIC พบผู้ป่วย 112 คนเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หลังในช่วง 10 ปีเข้าโรงพยาบาลจากผู้ป่วยปอดอักเสบ 680 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดขึ้นในผู้ป่วย 4 คน และกลุ่มควบคุม 3 คนในช่วง 30 วันแรก (HR 2.38; 95% CI 1.12-3.63) ผู้ป่วย 4 คน และกลุ่มควบคุม 0 คน ระหว่าง 31 และ 90 วัน (HR 2.40; 95% CI 1.23-3.47) ผู้ป่วย 11 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน ระหว่าง 91 วัน และ 1 ปี (HR 2.19; 95% CI 1.20-3.19) และผู้ป่วย 8 คน และกลุ่มควบคุม 7 คน ระหว่างปีที่สอง (HR 1.88; 95% CI 1.10-2.66) แต่หลังจากปีที่ 2 พบว่า ค่า HRs ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติอีกต่อไป

การเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากปอดอักเสบสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สูงขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเสนอแนะว่าโรคปอดอักเสบอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจและหลอดเลือด