น้ำหนักเปลี่ยนในวัยทองและความเสี่ยงกระดูกหัก

น้ำหนักเปลี่ยนในวัยทองและความเสี่ยงกระดูกหัก

BMJ 2015;350:h25.

บทความเรื่อง Postmenopausal Weight Change and Incidence of Fracture: Post Hoc Findings from Women’s Health Initiative Observational Study and Clinical Trials รายงานผลจาก post hoc analysis จากงานวิจัย Women’s Health Initiative Observational Study and Clinical Trials เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวในวัยทองและกระดูกหัก และความสัมพันธ์ระหว่างการลดน้ำหนักโดยสมัครใจและโดยไม่สมัครใจต่อความเสี่ยงกระดูกหัก

กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงวัยทอง 120,566 คนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีอายุ 50-79 ปีที่พื้นฐาน (1993-1998) และติดตามถึงปี 2013 (ติดตามเฉลี่ย 11 ปีจากพื้นฐาน) นักวิจัยได้ติดตาม percentage change รายปีของน้ำหนักตัวจากพื้นฐานถึง 3 ปี และแบ่งเป็นกลุ่มน้ำหนักคงที่ (เปลี่ยนแปลง < 5%) น้ำหนักลด (≥ 5%) หรือน้ำหนักขึ้น (≥ 5%) โดยปรับตัวแบบ Cox proportional hazards regression models ตามอายุ เชื้อชาติ/ชาติพันธ์ุ ดัชนีมวลกายที่พื้นฐาน การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า ระดับการออกกำลังกาย การใช้พลังงาน การได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดี คะแนนสมรรถภาพทางกาย การตัดรังไข่ออก การตัดมดลูกออก ประวัติกระดูกหัก คะแนนโรคร่วม และการใช้ยา ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ การเกิดกระดูกหักซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รายงานในส่วน upper limbs, lower limbs และ central body และตรวจสอบกระดูกสะโพกหักจากเวชระเบียน

กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 63.3 ปี ค่า percentage change รายปีเฉลี่ยเท่ากับ 0.30% (95% confidence interval 0.28-0.32) โดยรวมพบว่า 79,279 คน (65.6%) มีน้ำหนักคงที่, 18,266 คน (15.2%) น้ำหนักลดลง และ 23,021 คน (19.0%) น้ำหนักขึ้น เมื่อเทียบกับการมีน้ำหนักคงที่พบว่า น้ำหนักตัวที่ลดลงสัมพันธ์กับอัตราอุบัติการณ์ที่สูงขึ้น 65% ต่อกระดูกหักของสะโพก (adjusted hazard ratio 1.65, 95% confidence interval 1.49-1.82) ส่วน upper limbs (1.09, 1.03-1.16) และ central body (1.30, 1.20-1.39) ขณะที่น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับอัตราอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของกระดูกหักที่ส่วน upper limb (1.10, 1.05-1.18) และ lower limb (1.18, 1.12-1.25) เมื่อเทียบกับน้ำหนักคงที่พบว่า การลดน้ำหนักโดยไม่สมัครใจสัมพันธ์กับอัตราอุบัติการณ์ที่สูงขึ้น 33% สำหรับกระดูกสะโพกหัก (1.33, 1.19-1.47) และอัตราอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของกระดูกสันหลังหัก (1.16, 1.06-1.26) และการลดน้ำหนักโดยสมัครใจสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของกระดูกหักส่วน lower limbs (1.11, 1.05-1.17) และอุบัติการณ์ที่ลดลงของกระดูกสะโพกหัก (0.85, 0.76-0.95)

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักที่ลดลง และการลดน้ำหนักโดยสมัครใจสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ที่สูงขึ้นของกระดูกหัก แต่มีความสัมพันธ์ต่างกันตามตำแหน่งที่เกิดกระดูกหัก จึงควรที่แพทย์จะตระหนักถึงรูปแบบของกระดูกหักภายหลังน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง