พินัยกรรมชีวิต: แนวทางปฏิบัติที่ต้องรู้ Living Will: Practical Point for Doing
นพ.วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ พ.บ., น.ม., น.บ.ท., ว.ว.นิติเวชศาสตร์* *รองศาสตราจารย์ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
มีหลายท่านที่รับทราบถึงมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 25501 ในเรื่อง “หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน” หรือที่เรียกกันอย่างย่อ ๆ ง่าย ๆ ว่า “พินัยกรรมชีวิต” หรือ “Living Will” แล้วจะเกิดความยินดีปรีดายิ่ง ประกอบกับ “ประกาศสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (5 เมษายน พ.ศ. 2554) เรื่อง แนวทางการปฏิบัติงานของสถานบริการสาธารณสุข ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ของสถานบริการสาธารณสุขตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553”2 ซึ่งออกตาม “กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ. 2553”3 ได้มีการชะลอการใช้ออกไปโดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสม4 ตาม “ต้นแบบ” ในประกาศฯ จึงเสมือนกับว่า “เปิดกว้างให้มีการทำพินัยกรรมแห่งชีวิตได้อย่างอิสระและไม่มีรูปแบบที่แน่นอน” ประหนึ่งว่า “กฎหมายให้ทำอย่างไรก็ได้” หลายฝ่ายจึงเกิดการทำพินัยกรรมดังกล่าวนี้ในรูปแบบต่าง ๆ มากมาย
Güvenilir casino siteleri instagram takipçi satın al Milanobet giriş smm panel