ผลลัพธ์ระยะยางหลังใส่ขดลวดเทียบกับผ่าตัดเปิดหลอดเลือด

ผลลัพธ์ระยะยาวหลังใส่ขดลวดเทียบกับผ่าตัดเปิดหลอดเลือด

Lancet 2015;385:529-38

บทความเรื่อง Long-term Outcomes after Stenting versus Endarterectomy for Treatment of Symptomatic Carotid Stenosis: The International Carotid Stenting Study (ICSS) Randomized Trial รายงานว่า การใส่ขดลวดเป็นทางเลือกแทนการผ่าตัดเปิดหลอดเลือดในหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบ แต่ประสิทธิภาพการรักษาในระยะยาวยังคงไม่มีข้อมูลชัดเจน

นักวิจัยรายงานข้อมูลระยะยาวจากการศึกษา International Carotid Stenting Study ซึ่งสุ่มให้ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบที่มีอาการได้รับการรักษาด้วยการใส่ขดลวดหรือผ่าตัดเปิดหลอดเลือด จุดยุติปฐมภูมิ ได้แก่ สโตรคที่ถึงแก่ชีวิตหรือทำให้พิการหลังสุ่มจนถึงสิ้นสุดการติดตาม โดยวิเคราะห์แบบ intention to treat ([ITT] all patients) และ per protocol จากวันที่ 31 หลังการรักษา (ในผู้ป่วยทั้งหมดซึ่งรักษาเสร็จสิ้น) และประเมินความสามารถการทำกิจกรรมด้วย Rankin scale ที่ปรับปรุงแล้ว

ผู้ป่วย 1,713 คนได้รับการรักษาด้วยขดลวด (n = 855) หรือผ่าตัดเปิดหลอดเลือด (n = 858) และมีมัธยฐานการติดตาม 4.2 ปี (IQR 3.0-5.2, maximum 10.0) ผู้ป่วย 3 คนถอนตัวจากการศึกษา จึงเหลือกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,710 คน ตัวเลขของสโตรคที่ถึงแก่ชีวิตหรือทำให้พิการ (52 vs 49) และความเสี่ยงสะสมที่ 5 ปีไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มใส่ขดลวดและกลุ่มผ่าตัดเปิดหลอดเลือด (6.4% vs 6.5%; hazard ratio [HR] 1.06, 95% CI 0.72-1.57, p = 0.77) โดยพบสโตรคเกิดขึ้นบ่อยกว่าในกลุ่มใส่ขดลวดเทียบกับผ่าตัดเปิดหลอดเลือด (119 vs 72 events; ITT population, 5-year cumulative risk 15.2% vs 9.4%, HR 1.71, 95% CI 1.28-2.30, p < 0.001; per-protocol population, 5-year cumulative risk 8.9% vs 5.8%, 1.53, 1.02-2.31, p = 0.04) แต่ส่วนใหญ่เป็นสโตรคที่ไม่ทำให้พิการ และการกระจายของคะแนนตาม modified Rankin scale ที่ปรับปรุงแล้วที่ 1 ปี, 5 ปี หรือติดตามครั้งสุดท้ายไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองกลุ่ม

ผู้ป่วยหลอดเลือดแดงคาโรติดตีบที่มีอาการมีผลลัพธ์ด้านความสามารถทำกิจกรรมในระยะยาว และความเสี่ยงต่อสโตรคที่ถึงแก่ชีวิตหรือทำให้พิการใกล้เคียงกันจากการรักษาด้วยขดลวดหรือผ่าตัดเปิดหลอดเลือด