Universal Decolonization ป้องกันติดเชื้อไอซียู

Universal Decolonization ป้องกันติดเชื้อไอซียู

N Engl J Med 2013;368:2255-2265.

บทความเรื่อง Targeted versus Universal Decolonization to Prevent ICU Infection รายงานว่า การทำ targeted decolonization และ universal decolonization แก่ผู้ป่วยในหน่วยวิกฤตเป็นยุทธศาสตร์สำหรับป้องกันการติดเชื้อจากการรักษา โดยเฉพาะการติดเชื้อ methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)

นักวิจัยศึกษาแบบ pragmatic, cluster-randomized trial โดยสุ่มให้โรงพยาบาลใช้ยุทธศาสตร์หนึ่งในสามแบบกับผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ทั้งหมดในหน่วยวิกฤต ได้แก่ กลุ่ม 1 ได้ตรวจคัดกรอง MRSA และแยกผู้ป่วย กลุ่ม 2 ทำ targeted decolonization (ได้แก่ ตรวจคัดกรอง, แยกผู้ป่วย และทำ decolonization ในผู้เป็นพาหะของ MRSA) และกลุ่ม 3 ทำ universal decolonization (ได้แก่ ไม่ตรวจคัดกรองและทำ decolonization ในผู้ป่วยทั้งหมด) และใช้ proportional-hazards models ประเมินผลต่างการลดลงของการติดเชื้อในแต่ละกลุ่มศึกษา ซึ่งจัดกลุ่มตามโรงพยาบาล

นักวิจัยสุ่มจากโรงพยาบาล 43 แห่ง (รวมหน่วยวิกฤต 74 แห่ง และผู้ป่วย 74,256 รายระหว่างระยะแทรกแซง) ในระยะแทรกแซงเทียบกับเส้นฐานพบว่า modeled hazard ratios สำหรับ MRSA clinical isolates เท่ากับ 0.92 สำหรับการตรวจคัดกรองและแยกผู้ป่วย (อัตราอย่างหยาบเท่ากับ 3.2 vs 3.4 isolates ต่อ 1,000 วัน), 0.75 สำหรับ targeted decolonization (3.2 vs 4.3 isolates ต่อ 1,000 วัน) และ 0.63 สำหรับ universal decolonization (2.1 vs 3.4 isolates ต่อ 1,000 วัน) (p = 0.01 สำหรับการตรวจในทุกกลุ่มที่เท่ากัน) ในระยะแทรกแซงเทียบกับเส้นฐานพบว่า hazard ratios สำหรับการติดเชื้อในกระแสเลือดสำหรับ pathogen ทุกตัวในทั้งสามกลุ่มเท่ากับ 0.99 (อัตราอย่างหยาบเท่ากับ 4.1 vs 4.2 infections ต่อ 1,000 วัน), 0.78 (3.7 vs 4.8 infections ต่อ 1,000 วัน) และ (3.6 vs 6.1 infections ต่อ 1,000 วัน) (p < 0.001 สำหรับการตรวจในทุกกลุ่มที่เท่ากัน) การทำ universal decolonization สามารถลดอัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับ targeted decolonization หรือคัดกรองและแยกผู้ป่วย และการทำ decolonization สามารถป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดได้หนึ่งรายในผู้ป่วยทุก 54 ราย การลดลงของอัตราการติดเชื้อ MRSA ในกระแสเลือดใกล้เคียงกับการติดเชื้อในกระแสเลือดทั้งหมด และผลต่างไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วย 7 ราย แต่อาการไม่รุนแรงและเกิดจาก chlorhexidine

การทำ universal decolonization ในหน่วยวิกฤตมีประโยชน์ในด้านลดอัตรา MRSA clinical isolates และการติดเชื้อในกระแสเลือดจาก pathogen ทั้งหมดดีกว่า targeted decolonization หรือการคัดกรองและแยกผู้ป่วย