เบาหวานต่อการควบคุมวัณโรค

เบาหวานต่อการควบคุมวัณโรค

Lancet. Published Online: March 5, 2015

บทความเรื่อง Effect of Diabetes on Tuberculosis Control in 13 Countries with High Tuberculosis: A Modelling Study รายงานว่า โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อวัณโรคและความเสี่ยงผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ในผู้ป่วยวัณโรค และเนื่องจากโรคเบาหวานมีความชุกสูงขึ้นในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางซึ่งได้รับผลกระทบที่สูงจากวัณโรค การป้องกันโรคเบาหวานจึงอาจมีประโยชน์ในการปรับปรุงการควบคุมวัณโรคอีกทางหนึ่ง

การศึกษาได้วิเคราะห์ผลของโรคเบาหวานต่อระบาดวิทยาของวัณโรคใน 13 ประเทศซึ่งได้รับผลกระทบสูงจากวัณโรค การศึกษาได้ใช้ข้อมูลความชุกของโรคเบาหวานในแต่ละประเทศและจำลองความชุกของโรคเบาหวานในอนาคต โดยปรับตัวแบบจำเพาะตามประเทศตามประมาณการแนวโน้มอุบัติการณ์ของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังได้ประมาณผลกระทบจากวัณโรคที่อาจลดลงได้จากมาตรการป้องกันโรคเบาหวานในระดับต่าง ๆ

หากความชุกของโรคเบาหวานยังคงสูงขึ้นเช่นเดียวกับในทศวรรษที่ผ่านมาในทั้ง 13 ประเทศ (base case scenario) จะทำให้ cumulative reduction ของอุบัติการณ์ของวัณโรคจะเท่ากับ 8.8% (95% credible interval [CrI] 4.0-15.8) และอัตราตายเท่ากับ 34.0% (30.3-39.6) ภายในปี ค.ศ. 2035 การลดความชุกของโรคเบาหวานลง 6.6-13.8% จะลดอุบัติการณ์ของวัณโรคได้ 11.5-25.2% และอัตราตายจากวัณโรคได้ 8.7-19.4% เมื่อเทียบกับ base case scenario พบว่า การยับยั้งไม่ให้เบาหวานเพิ่มสูงขึ้นจะหลีกเลี่ยง incident cases ได้ 6.0 ล้านราย (95% CrI 5.1-6.9) และการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานได้ 1.1 ล้านราย (1.0-1.3) ใน 13 ประเทศระหว่างระยะเวลา 20 ปี และหากลดอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานได้ 35% ภายในปี ค.ศ. 2025 ก็จะลดผู้ป่วยวัณโรคได้ 7.8 ล้านราย (6.7-9.0) และลดการเสียชีวิตจากวัณโรคได้ 1.5 ล้านราย (1.3-1.7) ภายในปี ค.ศ. 2035

โรคเบาหวานส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อระบาดวิทยาของวัณโรคในประเทศที่ได้รับผลกระทบสูงจากวัณโรค จึงควรที่หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อจะต้องร่วมมือเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการป้องกันโรคเบาหวานและวัณโรค