วินิจฉัย Atrial Fibrillation หลัง Stroke and Transient Ischaemic Attack
Lancet. Published Online: March 3, 2015
บทความเรื่อง Diagnosis of Atrial Fibrillation after Stroke and Transient Ischaemic Attack: A Systematic Review and Meta-Analysis รายงานว่า ความเสี่ยงสโตรคในผู้ป่วย atrial fibrillation มีระดับสูงสุดในผู้ที่มีประวัติสโตรค และยา oral anticoagulants สามารถลดความเสี่ยงการเป็นซ้ำของสโตรคได้ถึง 2 ใน 3 อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อสรุปว่าควรวินิจฉัย atrial fibrillation อย่างไรในผู้ป่วยสโตรค ขณะที่ความชุกของ atrial fibrillation ภายหลังสโตรคก็ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน ซึ่งจากการศึกษาแบบ systematic review และ meta-analysis นี้ได้ประมาณสัดส่วนของผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบ atrial fibrillation หลังการติดตามผลหัวใจ 4 ระยะภายหลังเกิดสโตรคหรือ transient ischaemic attack
การศึกษารวบรวมข้อมูลจาก PubMed, Embase และ Scopus จากปี ค.ศ. 1980 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2014 จากการศึกษาที่มีข้อมูลตัวเลขผู้ป่วย ischaemic stroke หรือ transient ischaemic attack ซึ่งเพิ่งตรวจพบ atrial fibrillation นักวิจัยได้แบ่งการติดตามหัวใจตามการคัดกรองเป็น 4 ระยะ ได้แก่
phase 1 (emergency room) ตรวจ electrocardiogram (ECG); phase 2 (in hospital) ตรวจ serial ECG, continuous inpatient ECG monitoring, continuous inpatient cardiac telemetry และ in-hospital Holter monitoring; phase 3 (first ambulatory period) ตรวจ ambulatory Holter และ phase 4 (second ambulatory period) ตรวจ mobile cardiac outpatient telemetry, external loop recording และ implantable loop recording จุดยุติปฐมภูมิ ได้แก่ สัดส่วนของผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบ atrial fibrillation สำหรับแต่ละกระบวนการและระยะ และระยะทั้งหมด และได้ประมาณสัดส่วนรวมของผู้ป่วยที่ตรวจพบ atrial fibrillation หลังสโตรคด้วย random-effects meta-analyses สำหรับแต่ละกระบวนการและระยะ
จาก systematic review พบว่ามีการศึกษา 50 ฉบับ (ผู้ป่วย 11,658 คน) ที่สอดคล้องตามเกณฑ์การศึกษา meta-analyses สัดส่วนรวมของผู้ป่วยที่ตรวจพบ atrial fibrillation หลังสโตรคเท่ากับ 7.7% (95% CI 5.0-10.8) ใน phase 1, 5.1% (3.8-6.5) ใน phase 2, 10.7% (5.6-17.2) ใน phase 3 และ 16.9% (13.0-21.2) ใน phase 4 โดยการตรวจพบ atrial fibrillation โดยรวมหลังทุกระยะเท่ากับ 23.7% (95% CI 17.2-31.0)
ข้อมูลจากการศึกษาชี้ว่า อาจตรวจพบ atrial fibrillation ในเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ป่วยสโตรคหรือ transient ischaemic attack สัดส่วนโดยรวมของผู้ป่วยสโตรคซึ่งทราบว่ามี atrial fibrillation อาจสูงกว่าที่เคยประมาณกันไว้ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่สามารถรักษาด้วย oral anticoagulants อาจมีจำนวนมากกว่าที่ประเมินไว้และอาจป้องกันการเกิดสโตรคซ้ำได้มากขึ้น