5α-Reductase Inhibitors ไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
BMJ 2013;346:f3406.
บทความเรื่อง Use of 5α-Reductase Inhibitors for Lower Urinary Tract Symptoms and Risk of Prostate Cancer in Swedish Men: Nationwide, Population Based Case-Control Study รายงานข้อมูลจากการศึกษาแบบ nationwide, population based case-control study สำหรับผู้ชายที่ตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระหว่างปี ค.ศ. 2007-2009 ในฐานข้อมูล Prostate Cancer data Base Sweden 2.0 เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ 5α-reductase inhibitor (5-ARI) ในผู้ชายที่เป็นกลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่างและมีความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก
นักวิจัยศึกษาจากผู้ป่วย 26,735 ราย และกลุ่มควบคุม 133,671 ราย โดยสุ่มเลือกกลุ่มควบคุมจากประชากรในสวีเดน ผู้ชาย 7,815 ราย (ผู้ป่วย 1,499 ราย และกลุ่มควบคุม 6,316 ราย) ได้รับ 5-ARI โดย 412 รายได้รับ 5-ARI ก่อนตรวจพบมะเร็งซึ่งมีคะแนน Gleason score ระหว่าง 8-10
มาตรวัดผลลัพธ์ ได้แก่ ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากคำนวณเป็น odds ratios และ 95% confidence intervals จาก conditional logistic regression analyses
ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมายโดยรวมลดลงตามระยะการใช้ยาที่เพิ่มขึ้น โดยผู้ชายที่รักษาด้วย 5-ARI มานานกว่า 3 ปี มี odds ratio เท่ากับ 0.72 (95% confidence interval 0.59-0.89; p < 0.001 for trend) และพบความสัมพันธ์แบบเดียวกันนี้สำหรับมะเร็งที่มี Gleason scores 2-6 และ 7 (both p < 0.001 for trend) อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงเนื้องอกที่มี Gleason scores 8-10 ไม่ลดลงตามระยะการรักษาด้วย 5-ARI ที่เพิ่มขึ้น (สำหรับการได้ยา 0-1 ปี, odds ratio 0.96 (95% confidence interval 0.83-1.11); สำหรับ 1-2 ปี, 1.07 [0.88-1.31]; สำหรับ 2-3 ปี, 0.96 [0.72-1.27] และสำหรับ > 3 ปี, 1.23 [0.90-1.68]; p = 0.46 for trend)
ผู้ชายที่รักษาด้วย 5-ARI เนื่องจากกลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่างมีความเสี่ยงลดลงต่อมะเร็งที่มี Gleason scores 2-7 และไม่พบหลักฐานว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้นสำหรับมะเร็งที่มี Gleason scores 8-10 หลังรักษามาแล้วนาน 4 ปี