สโตรคจากการได้รับมลพิษอากาศระยะสั้น

สโตรคจากการได้รับมลพิษอากาศระยะสั้น

BMJ 2015;350:h1295.

บทความเรื่อง Short Term Exposure to Air Pollution and Stroke: Systematic Review and Meta-Analysis รายงานผลจาก systematic review และ meta-analysis จากการศึกษาแบบ observational study เพื่อทบทวนหลักฐานความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างมลพิษอากาศและสโตรค โดยสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Medline, Embase, Global Health, Cumulative Index to Nursing and Allied Health Literature (CINAHL) และ Web of Science จนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 ในทุกภาษา งานวิจัยที่นำมาศึกษาได้ศึกษาความสัมพันธ์ระยะสั้น (จนถึง 7 วัน) ระหว่างมลพิษแก๊ส (carbon monoxide, sulphur dioxide, nitrogen dioxide, ozone) และ particulate matter (< 2.5 µm or < 10 µm diameter [PM2.5 and PM10]) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวันและการรับเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากสโตรคหรือการตายเนื่องจากสโตรค

จากบทความงานวิจัย 2,748 ฉบับ มีบทความสอดคล้องกับเกณฑ์การศึกษา 103 ฉบับ รวมเหตุการณ์ทั้งสิ้น 6.2 ล้านเหตุการณ์ใน 28 ประเทศ การรับเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากสโตรคหรือการตายเนื่องจากสโตรคสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของระดับ carbon monoxide (relative risk 1.015 per 1 ppm, 95% confidence interval 1.004-1.026), sulphur dioxide (1.019 per 10 ppb, 1.011-1.027) และ nitrogen dioxide (1.014 per 10 ppb, 1.009-1.019) เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของ PM2.5 และ PM10 (1.011 per 10 µg/m3 [1.011-1.012] และ 1.003 per 10 µg/m3 [1.002-1.004], respectively) โดยเห็นความสัมพันธ์น้อยที่สุดจากโอโซน (1.001 per 10 ppb, 1.000-1.002) และเห็นความสัมพันธ์ชัดที่สุดในวันที่ได้รับมลพิษ และเห็นผลที่ยืดเยื้อนานกว่าสำหรับ PM2.5

มลพิษแก๊สและฝุ่นละอองขนาดเล็กมีความสัมพันธ์ระยะสั้นที่เห็นได้ชัดกับการรับเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากสโตรคหรือการตายเนื่องจากสโตรค การกำหนดมาตรการด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดมลพิษอากาศซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากสโตรคได้