เปรียบเทียบการให้เซลล์เม็ดเลือดแดง Restrictive และ Liberal Transfusion Strategy
BMJ 2015;350:h1354.
บทความเรื่อง Restrictive versus Liberal Transfusion Strategy for Red Blood Cell Transfusion: Systematic Review of Randomized Trials with Meta-Analysis and Trial Sequential Analysis รายงานผลลัพธ์จาก systematic review ร่วมกับ meta-analyses และ trial sequential analyses จากการศึกษาแบบ randomized clinical trials เพื่อเปรียบเทียบประโยชน์และผลลัพธ์ไม่พึงประสงค์ของการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy และ liberal transfusion strategy
ข้อมูลในการศึกษารวบรวมจาก Cochrane central register of controlled trials, SilverPlatter Medline (1950 to date), SilverPlatter Embase (1980 to date) และ Science Citation Index Expanded (1900 to present) โดยได้ตรวจสอบรายการอ้างอิงของการศึกษาและ systematic reviews อื่น ตลอดจนติดต่อผู้นิพนธ์และผู้เชี่ยวชาญเพื่อติดตามการศึกษาเพิ่มเติม
การศึกษาที่นำมาวิเคราะห์มีรูปแบบเป็น randomized clinical trials ที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ ซึ่งได้เปรียบเทียบการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy กับ liberal transfusion strategy ในผู้ใหญ่และเด็ก โดยใช้ตัวแบบ random effects models หาค่า risk ratios และ mean differences ร่วมกับ 95% confidence intervals
การศึกษานี้ได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก 31 การศึกษา รวมผู้ป่วยที่ได้รับการสุ่ม 9,813 คน สัดส่วนของผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์เม็ดเลือดแดง (relative risk 0.54, 95% confidence interval 0.47-0.63, 8,923 patients, 24 trials) และจำนวนยูนิตของเม็ดเลือดแดงที่ให้ (mean difference -1.43, 95% confidence interval -2.01 to -0.86) ต่ำกว่าจากการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy เทียบกับ liberal transfusion strategy การให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy เทียบกับ liberal transfusion strategy ไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงการตาย (0.86, 0.74-1.01, 5,707 patients, nine lower risk of bias trials), การเจ็บป่วยโดยรวม (0.98, 0.85-1.12, 4,517 patients, six lower risk of bias trials) หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ถึงแก่ชีวิตและไม่ถึงแก่ชีวิต (1.28, 0.66-2.49, 4,730 patients, seven lower risk of bias trials) ผลลัพธ์ไม่ได้เป็นผลจากการรวมการศึกษาที่มีความเสี่ยงไม่ชัดเจนหรือมีความเสี่ยงสูงต่ออคติ และแม้จากการวิเคราะห์ trial sequential analyses ต่อการตายและกล้ามเนื้อหัวใจตายไม่ได้ขนาดข้อมูลตามต้องการ แต่ก็สามารถตัด 15% relative risk reduction หรือการเพิ่มขึ้นของการเจ็บป่วยโดยรวมจากการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy
เมื่อเทียบกับการให้เลือดแบบ liberal transfusion strategy พบว่า การให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy สัมพันธ์กับการลดลงของจำนวนยูนิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ให้และจำนวนของผู้ป่วยที่ให้เลือด แต่ดูเหมือนไม่มีผลต่อการตาย การเจ็บป่วยโดยรวม และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งการให้เลือดแบบ restrictive transfusion strategy ปลอดภัยในสภาวการณ์ทางคลินิกส่วนใหญ่ ขณะที่ไม่พบประโยชน์ต่อผู้ป่วยจากการให้เลือดแบบ liberal transfusion strategy