อายุเลือดสำรองและผลลัพธ์ในผู้ป่วยวิกฤติ
N Engl J Med 2015;372:1410-1418.
บทความเรื่อง Age of Transfused Blood in Critically Ill Adults รายงานว่า เม็ดเลือดที่มีอายุการเก็บไม่นานอาจฟื้นฟูผลลัพธ์ในผู้ป่วยวิกฤติโดยเพิ่มการนำออกซิเจนและลดความเสี่ยงพิษจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และการสะสมของ bioactive materials ในส่วนประกอบของเลือดจากการเก็บรักษาเป็นเวลานาน
การศึกษานี้ได้สุ่มให้ผู้ป่วยวิกฤติได้รับเม็ดเลือดแดงที่เก็บรักษาไว้ไม่เกิน 8 วัน หรือเม็ดเลือดแดงที่มีอายุการเก็บรักษานานที่สุดเท่าที่หาได้ในธนาคารเลือด โดยประเมินผลลัพธ์หลัก ได้แก่ อัตราตาย 90 วัน
ระหว่างเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 ถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 มีผู้ป่วย 1,211 รายได้รับเม็ดเลือดแดงใหม่ (กลุ่มเลือดใหม่) และ 1,219 รายได้รับเลือดที่เก็บรักษาไว้นาน (กลุ่มเลือดมาตรฐาน) มัธยฐาน (± SD) ระยะการเก็บเม็ดเลือดแดงเท่ากับ 6.1 ± 4.9 วันในกลุ่มเลือดใหม่เทียบกับ 22.0 ± 8.4 วันในกลุ่มเลือดมาตรฐาน (p < 0.001) ที่ 90 วันพบว่า ผู้ป่วย 448 ราย (37.0%) ในกลุ่มเลือดใหม่ และ 430 ราย (35.3%) ในกลุ่มเลือดมาตรฐานเสียชีวิต (absolute risk difference 1.7 percentage points; 95% CI -2.1 to 5.5) จากการวิเคราะห์การรอดชีวิตพบว่า hazard ratio สำหรับการตายในกลุ่มเลือดใหม่เทียบกับกลุ่มเลือดมาตรฐานเท่ากับ 1.1 (95% CI 0.9-1.2; p = 0.38) จากการศึกษาไม่พบความต่างที่มีนัยสำคัญด้านผลลัพธ์รอง (โรคร้ายแรง และระยะการใช้เครื่องช่วยหายใจ พลศาสตร์ของเลือดหรือการบำบัดทดแทนไต ระยะการพักรักษาในโรงพยาบาล และปฏิกิริยาต่อการรับเลือด) หรือในการวิเคราะห์กลุ่มย่อย
การให้เม็ดเลือดแดงที่เพิ่งเก็บสำรองใหม่ไม่ได้ลดอัตราตาย 90 วันในผู้ป่วยวิกฤติเมื่อเทียบกับเลือดมาตรฐาน