Oseltamivir สำหรับไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่

Oseltamivir สำหรับไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่

Lancet. 2015;385(9979):1729-1737.

บทความเรื่อง Oseltamivir Treatment for Influenza in Adults: A Meta-Analysis of Randomised Controlled Trials รายงานว่า ปัจจุบันยังคงมีข้อกังขาถึงประสิทธิภาพของ oseltamivir ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ จึงได้มีการศึกษา meta-analysis จากงานวิจัยทั้งหมดที่เปรียบเทียบ oseltamivir กับยาหลอกสำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลในผู้ใหญ่ โดยประเมินจากการบรรเทาอาการ ภาวะแทรกซ้อน และความปลอดภัย

การศึกษาได้รวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดซึ่งศึกษาผลการรักษาด้วย oseltamivir 75 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้งในผู้ใหญ่ โดยรวมถึงการศึกษาของ oseltamivir สำหรับรักษาอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ซึ่งรายงานผลลัพธ์ที่ศึกษาอย่างน้อยหนึ่งข้อ นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจากฐานข้อมูล Medline, PubMed, Embase, the Cochrane Central Register of Controlled Trials และ ClinicalTrials.gov ซึ่งตีพิมพ์ก่อนวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2014 โดยวิเคราะห์จากกลุ่ม intention-to-treat infected, intention-to-treat และ safety populations ผลลัพธ์หลัก ได้แก่ ระยะเวลาที่อาการดีขึ้นวิเคราะห์ด้วยวิธี accelerated failure time methods และประเมินผลลัพธ์ด้านภาวะแทรกซ้อน การรับเข้าโรงพยาบาล และความปลอดภัยด้วย risk ratios และ Mantel-Haenszel methods

การศึกษานี้ได้รวบรวมข้อมูลจาก 9 การศึกษา รวมผู้ป่วย 4,328 ราย ในกลุ่ม intention-to-treat infected population พบว่าระยะเวลาจนกว่าที่อาการดีขึ้นสั้นลง 21% สำหรับกลุ่มที่ได้รับ oseltamivir เทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (time ratio 0.79, 95% CI 0.74-0.85; p < 0.0001) มัธยฐานเวลาที่อาการดีขึ้นเท่ากับ 97.5 ชั่วโมงสำหรับกลุ่มที่ได้รับ oseltamivir และ 122.7 ชั่วโมงสำหรับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (difference -25.2 h, 95% CI -36.2 to -16.0) สำหรับกลุ่ม intention-to-treat population พบว่า ผลการรักษาอ่อนลง (time ratio 0.85) แต่ยังคงมีนัยสำคัญ (median difference -17.8 h) และในกลุ่ม intention-to-treat infected population พบอัตราที่ต่ำลงของภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจส่วนล่างซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะนานกว่า 48 ชั่วโมงหลังการสุ่ม (risk ratio [RR] 0.56, 95% CI 0.42-0.75; p = 0.0001; 4.9% oseltamivir vs 8.7% placebo, risk difference -3.8%, 95% CI -5.0 to -2.2) รวมถึงการรับเข้าโรงพยาบาลจากทุกสาเหตุ (RR 0.37, 95% CI 0.17-0.81; p = 0.013; 0.6% oseltamivir, 1.7% placebo, risk difference -1.1%, 95% CI -1.4 to -0.3) ในแง่ความปลอดภัยพบว่า oseltamivir มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่ออาการคลื่นไส้ (RR 1.60, 95% CI 1.29-1.99; p < 0.0001; 9.9% oseltamivir vs 6.2% placebo, risk difference 3.7%, 95% CI 1.8-6.1) และอาเจียน (RR 2.43, 95% CI 1.83-3.23; p < 0.0001; 8.0% oseltamivir vs 3.3% placebo, risk difference 4.7%, 95% CI 2.7-7.3) แต่ไม่พบผลต่อระบบประสาทหรือภาวะทางจิตหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ร้ายแรง

จากการศึกษานี้ชี้ว่า oseltamivir ในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่สามารถร่นระยะเวลาที่อาการดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจส่วนล่างและการรับเข้าโรงพยาบาล แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มอาการคลื่นไส้ อาเจียน