ความเสี่ยงทางพันธุกรรม และประโยชน์จากการรักษาด้วย Statin
Lancet. 2015;385(9984):2264-2271.
บทความเรื่อง Genetic Risk, Coronary Heart Disease Events, and the Clinical Benefit of Statin Therapy: An Analysis of Primary and Secondary Prevention Trials รายงานว่า genetic variants สัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งการศึกษานี้ได้ทดสอบสมมติฐานว่า genetic variants เพิ่มความเสี่ยงการเกิดเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นซ้ำหรือไม่ และระบุผู้ที่จะได้ประโยชน์มากขึ้นจากการรักษาด้วย statin
การวิเคราะห์ใช้ข้อมูลจากการศึกษา community-based cohort study (การศึกษา Malmo Diet and Cancer Study) การศึกษาการป้องกันระดับปฐมภูมิ (การศึกษา JUPITER และ ASCOT) และการป้องกันทุติยภูมิ (การศึกษา CARE และ PROVE IT-TIMI 22) ด้วย statin โดยมีผู้ป่วย 48.421 ราย และมีรายงาน 3,477 เหตุการณ์ การศึกษาได้ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนความเสี่ยงทางพันธุกรรมจาก genetic variants 27 ชนิด กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำปรับปัจจัยเสี่ยงมาตรฐาน นอกจากนี้ยังได้ประเมิน relative และ absolute risk reductions ของเหตุการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจตีบจากการรักษาด้วย statin แบ่งชั้นตามความเสี่ยงทางพันธุกรรม แล้วจึงรวมข้อมูลจากแต่ละการศึกษาใน meta-analysis
การแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระดับความเสี่ยงทางพันธุกรรมเป็นระดับต่ำ (quintile 1), ปานกลาง (quintiles 2-4) และระดับสูง (quintile 5) ทำให้เห็นความชันที่มีนัยสำคัญด้านความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ โดย hazard ratio ปรับพหุตัวแปรสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสำหรับความเสี่ยงทางพันธุกรรมปานกลางเท่ากับ 1.34 (95% CI 1.22-1.47, p < 0.0001) และสำหรับความเสี่ยงสูงเท่ากับ 1.72 (1.55-1.92, p < 0.0001) เทียบกับความเสี่ยงต่ำ สำหรับประโยชน์จากการรักษาด้วย statin ใน randomised trial ทั้ง 4 การศึกษาพบว่ามีความชันที่มีนัยสำคัญ (p = 0.0277) ของ relative risk reductions ที่เพิ่มขึ้นในระดับความเสี่ยงต่ำ (13%), ความเสี่ยงปานกลาง (29%) และความเสี่ยงสูง (48%) นอกจากนี้ยังพบ absolute risk reductions ที่มากกว่าในกลุ่มความเสี่ยงสูง (p = 0.0101) โดยมี number needed to treat สำหรับการป้องกันเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 1 ครั้งที่ต่ำลงประมาณ 3 เท่าในงานวิจัยที่ศึกษาการป้องกันปฐมภูมิ และในการศึกษาดังกล่าวพบว่า number needed to treat สำหรับการป้องกันเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 1 ครั้งใน 10 ปีเท่ากับ 66 ในผู้ที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมต่ำ, 42 ในผู้ที่มีความเสี่ยงปานกลาง และ 25 ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการศึกษา JUPITER และเท่ากับ 57, 47 และ 20 ตามลำดับในการศึกษา ASCOT
คะแนนความเสี่ยงทางพันธุกรรมสามารถระบุผู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นทั้งต่อการเกิดเหตุการณ์ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหลอดเลือดหัวใจตีบซ้ำ โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดได้รับประโยชน์จากการรักษาด้วย statin มากที่สุด