ปัสสาวะเล็ดก่อนและหลังผ่าตัดลดอ้วน

ปัสสาวะเล็ดก่อนและหลังผ่าตัดลดอ้วน

JAMA Intern Med. Published online June 22, 2015.

บทความเรื่อง Urinary Incontinence Before and After Bariatric Surgery รายงานว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานผลลัพธ์ที่ดีขึ้นด้านการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้หญิงและผู้ชายที่อ้วนมากหลังหนึ่งปีแรกนับจากลดน้ำหนักด้วยการผ่าตัดลดความอ้วน การศึกษานี้จึงได้ประเมินความแตกต่างของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ภายหลังการผ่าตัดลดความอ้วน และระบุปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและโรคสงบในผู้หญิงและผู้ชายระหว่าง 3 ปีแรกหลังการผ่าตัดลดความอ้วน

การศึกษา Longitudinal Assessment of Bariatric Surgery 2 มีขึ้นในสหรัฐอเมริกา โดยรวบรวมกลุ่มตัวอย่างระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 ผู้ป่วยซึ่งเข้ารับการผ่าตัดลดความอ้วนครั้งแรกระหว่างวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2006 ถึงวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 2009 ได้รับการติดตามเป็นเวลา 3 ปี (ถึงวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 2012)

ผู้ป่วยผ่าตัดลดความอ้วนได้กรอกแบบประเมินก่อนการผ่าตัด และกรอกแบบประเมินปีละครั้งหลังผ่าตัดโดยได้ประเมินความถี่และชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในช่วง 3 เดือนก่อนจากแบบสอบถาม การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดชุกประเมินจากการเกิดขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และโรคสงบประเมินจากการเปลี่ยนแปลงของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่พื้นฐานเหลือน้อยกว่าสัปดาห์ละครั้งระหว่างการติดตาม

จากผู้ป่วย 2,458 รายพบว่า 1,987 ราย (80.8%) ได้กรอกแบบประเมินที่พื้นฐานและการติดตามที่พื้นฐานพบว่า อายุมัธยฐานเท่ากับ 47 ปี (อายุ 18-78 ปี) และมัธยฐานดัชนีมวลกายเท่ากับ 46 กิโลกรัม/ตารางเมตร (34-94 กิโลกรัม/ตารางเมตร) และ 1,565 รายจาก 1,987 ราย (78.8%) เป็นผู้หญิง การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่พบบ่อยกว่าในผู้หญิง (49.3%; 95% CI 46.9%-51.9%) เทียบกับผู้ชาย (21.8%; 95% CI 18.2%-26.1%) (p < 0.001) หลังจากน้ำหนักที่ 1 ปีลดลง 29.5% (95% CI 29.0%-30.1%) ในผู้หญิง และ 27.0% (95% CI 25.9%-28.6%) ในผู้ชายพบว่า ความชุกของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ต่ำลงอย่างมีนัยสำคัญทั้งในผู้หญิง (18.3%; 95% CI 16.4%-20.4%) และผู้ชาย (9.8%; 95% CI 7.2%-13.4%) (p < 0.001 สำหรับทั้งหมด) และแม้ความชุกที่ 3 ปีสูงกว่าความชุกที่ 1 ปีในทั้ง 2 กลุ่ม (24.8%; 95% CI 21.8%-26.5% ในผู้หญิง และ 12.2%; 95% CI 9.0%-16.4% ในผู้ชาย) แต่ก็ต่ำกว่าอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับพื้นฐาน (p < 0.001 สำหรับทั้งหมด) การลดน้ำหนักสัมพันธ์โดยอิสระกับการสงบของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (relative risk 1.08; 95% CI 1.06-1.10 ในผู้หญิง และ 1.07; 95% CI 1.02-1.13 ในผู้ชาย) ต่อน้ำหนักตัวที่ลดลง 5% เช่นเดียวกับอายุน้อย และไม่มีปัญหารุนแรงของการเดิน

การผ่าตัดลดความอ้วนสัมพันธ์กับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่ลดลงอย่างชัดเจนในระยะ 3 ปีในผู้หญิง และผู้ชายที่อ้วนมาก ซึ่งผลลัพธ์ด้านการกลั้นปัสสาวะที่ดีขึ้นอาจเป็นประโยชน์ที่มีนัยสำคัญจากการผ่าตัดลดความอ้วน