ออกกำลังกายให้ผลดีในเบาหวานชนิดที่ 2

ออกกำลังกายให้ผลดีในเบาหวานชนิดที่ 2

Radiology. Published online before print June 25, 2013

            บทความเรื่อง Exercise and Type 2 Diabetes Mellitus: Changes in Tissue-Specific Fat Distribution and Cardiac Function รายงานผลจากการศึกษาเพื่อประเมินผลลัพธ์การออกกำลังกายต่อการสะสมไขมันจำเพาะอวัยวะ และการทำงานของหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

            นักวิจัยติดตามผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รวม 12 ราย (เป็นชาย 7 คน อายุเฉลี่ย 46 ปี ± 2 [standard error]) ก่อนและหลัง 6 เดือนของการออกกำลังกายแบบปานกลาง-เข้มข้น ตามด้วยการเดินป่าบนที่สูงโดยออกกำลังกายติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ปริมาตรไขมันที่ช่องท้อง เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน และเยื่อหุ้มหัวใจวัดจากการทำ MRI การทำงานของหัวใจประเมินด้วย cardiac MR โดยมีนักวิจัยอาวุโสคอยให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์ ไตรกลีเซอไรด์ที่ตับ กล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์กล้ามเนื้อในปริมาณน้ำสัมพัทธ์วัดด้วย proton MR spectroscopy ที่ 1.5 และ 7 T และวิเคราะห์ทางสถิติด้วย two-tailed paired t tests

            การออกกำลังกายลด visceral abdominal fat จาก 348 mL ± 57 เป็น 219 mL ± 33 (p < 0.01) ขณะที่ abdominal fat ใต้ผิวหนังไม่เปลี่ยนแปลง (p = 0.9) การออกกำลังกายลดไตรกลีเซอไรด์ที่ตับจาก 6.8% ± 2.3 เป็น 4.6% ± 1.6 (p < 0.01) และลดไขมันที่เยื่อหุ้มหัวใจจาก 4.6 mL ± 0.9 เป็น 3.7 mL ± 0.8 (p = 0.02)            การออกกำลังกายไม่มีผลต่อระดับไขมันที่เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (p = 0.9), ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่กล้ามเนื้อหัวใจ (p = 0.9), ระดับไขมันในเซลล์กล้ามเนื้อ (p = 0.3) หรือการทำงานของหัวใจ (p = 0.5)

            การแทรกแซงโดยให้ออกกำลังเป็นเวลา 6 เดือนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ที่ตับ ช่องท้อง และไขมันที่เยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งผลลัพธ์จากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นประโยชน์จากการออกกำลังกายต่อการสะสมไขมันในร่างกายจำเพาะตามเนื้อเยื่อในโรคเบาหวานชนิดที่ 2